ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

การเรียกค่าขาดประโยชนืจากการใช้รถไม่มีแบบฟอร์มที่แน่นอนผู้ร้องสามารถเขียนข้อเรียกร้องเองได้เลยดังตัวอย่างนี้เป็นแนวทาง
กรณีเกิดเหตุ  รถคู่กรณีมีประกันภัย ประกันภัยคู่กรณีขอเจรจา ว่าจะรับผิดชอบค่าซ่อมให้ และส่งสัญญาประณีประนอม แบบนี้ให้ลงชื่อ แบบนี้ถ้าลงชื่อไปแล้ว จะไม่สามารถเรียกร้องค่าขาดการใช้รถได้ในภายหลัง และค่าซ่อม ที่ตกลงกันไว้อาจได้ไม่ครบ เพราะเขาจะเขียนขึ้นเองภายหลัง หากเกิดลักษณะนี้ ต้องให้ บริษัทประกันภัยเขียนข้อความโดยไม่มีที่ว่างที่จะเพิ่มเติมภายหลังได้
และหากฟ้อง คปภ.หรือเรียกค่าเสียหายอะไรอีกไม่ได้เลย
ไม่ว่าเป็นสัญญาอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเป็นลักษณะนี้อย่าลงชื่อ อ่านให้ละเอียดเสียก่อน สำหรับเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กับบริษัทประกันภัย อย่างไรก็เรียกได้อยู่แล้วครับ เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีการเรียกร้องเท่านั้น ครับ ประกันภัยมีทุนสำรองเยอะ แต่การเรียกค่าเสียหายก็ต้องเรียกตามจริง คือค่าเสียหายเท่าไหร่ก็เรียกได้เท่านั้น หากบริษัทประกันภัยจ่ายช้า โดยนับแตั้งได้รับจดหมายจากผู้ผู้หาย ถ้ารับแล้วไม่จ่าย เริ่มคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีได้เลย  เมื่อก่อน กฎหมายให้ร้อยละ 7 ต่อปี ปัจจุบันแก้เป็นร้อยละ 15 ต่อปี  ยิ่งจ่ายช้าเราได้ดอกเบี้ยเยอะ ครับ
การแจ้งให้บริษัทจ่าย ต้องมีหลักฐาน นะครับ เจราจาปากเปล่า โทรศัพท์ตกลงกัน แบบนี้ ยังเรียกดอกเบี้ยลำบาก    หลักการเรียกดอกเบี้ยคือ  ลูกหนี้ผิดนัด ทวงแล้วไม่จ่ายประมาณนั้น  บริษัทประกันภัยถือเป็นลูกหนี้ทันที ที่รถคันเอาประกันทำความเสียหายกับรถเรา แต่เราต้องมีจดหมายทวงก่อน ไม่ทวงเขาก็ไม่จ่ายประมาณนั้น ครับ
กฎหมายประกันภัย ดีตรงที่ราฎษรทำคดีได้เอง ครับ ฟ้องเองได้
ตัวอย่างการเขียนหนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
ตัวอย่างการเขียนหนังสือเรียกร้องค่าขาดการใช้รถยนต์  แบบแนวทางครับ ถ้าจำนวนเงินเยอะ แนะนำให้ผู้มีความรุ้ทำให้จะดีกว่า เพราะ ประกันคงไม่จ่ายง่าย ๆ ต้องมีมาตราการบังคับ อาจต้อง ถึงสุดท้ายคือ การฟ้องคุณอนุญาโตตุลาการ  แต่ถ้าเล็ก ๆ น้อย ก็ ขอได้เลย ประกันจ่ายให้อยู่แล้ว วันละ 300 บาท
ขั้นตอนจะมี 3 ช่วง  ช่วงแรก  เขียนถึงบริษัท ถ้าเงินไม่เยอะ ตกลงกันได้ ก็รับเข็คเงินสด ถ้าเงินเยอะ จะถูกดองเรื่องหรือดึงเรื่องให้ช้า หรือหาเหตุอ้างเหตุที่ไม่จ่าย ขึ้นตอนนี้ต้องร้องเรียน คปภ.เพื่อไกล่เกลี่ย ถ้าตกลงได้ก็จบ ถ้าตกลงไม่ได้ ก็ต้องยื่นข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการ เพื่อเป็นผู้ตัดสิน  จะมี 3 ขั้น
แต่ส่วนใหญ่ประกันจะดึงเรื่องจ่ายช้า เพื่อให้ผู้เสียหายตกลงตามที่บริษัทเสนอ
ก็เป็นเรื่องปกติในทางธุรกิจ ส่วนการปฎิบัติต้องเตรียมหลักฐานค่าเสียหาย  แบะคำนวนค่าเสียหาย  ให้เป็นยอดเงินที่แน่นอน   ค่าเสียหายที่ไม่มีหลักฐาน จะเหลือประมาณครึ่งเดียว  เช่น ค่ารถแท๊กชี่ ถ้าไม่มีใบเสร็จ จะได้  300  บาท ถ้ามีใบเสร็จก็ได้ตามใบเสร็จ แค่อาจต้องสู้ถึง  คปถ.
ส่วนค่าเสื้อมราคา ปกคิยริษัทตะไม่จ่าย แต่ถ้าถึงขั้นอนุญาโตคุลาการ จะสั่งให้จ่าย เพราะ แม้จะให้ดีอย่างไร ก็ไม่เหมือนเดิม 100 %   ถ้าให้ท่ารชื้อรถ รถที่เคยถูกชนและข่อมมาแล้ว กับรถที่ไม่เคยชนไม่เคยช่อมมาก่อน ท่านจะชื้อรถคันไหน  ตรงนี้คือค่าเสื่อมราคา



เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมีประกันชั้น1ทั้งสองฝ่ายควรทำอย่างไรดี

เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมีประกันชั้น 1 ทั้งสองฝ่าย ควรทำอย่างไรดี?
เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมีประกันชั้น 1 ทั้งสองฝ่าย ควรทำอย่างไรดี?
ประกันชั้น 1 ครอบคลุมทุกอย่างไม่จำเป็นต้องรถชนรถ แต่ต้องเกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น
กรณีศึกษาเมื่อเราเป็นฝ่ายผิด ต้องให้ฝ่ายประกันของเราและคู่กรณี(ผู้เสียหาย)เจรจากันและหากทั้งคู่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าผลต่างอยู่ที่เท่าไหร่ ทางคู่กรณี(ผู้เสียหาย)และทางฝ่ายประกันของคู่กรณีสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากเราได้เมื่อทางฝ่ายประกันเราไม่มีความสามารถที่จะจ่าค่าเสียหายตามที่ถูกเรียกร้องได้ครบ ซึ่งเราต้องรับผิดชอบในผลต่าง
- กรณีที่เกิดความเสียหายเฉพาะกับตัวรถยนต์ซึ่งสามารถประเมินค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนตัวเงินได้ เกิดความเสียหายเท่าใดก็เรียกร้องค่าความเสียหายได้เท่านั้น ถ้าไม่เกินวงเงินประกันก็จ่ายไป แต่ถ้าเกินก็ต้องเสียในส่วนต่างที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งโดยส่วนมากจะไปจบโดยให้พนักงานสอบสวนปรับ 400-1000 บาท
- แต่กรณีที่เกิดเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายและภาวะจิตใจนั้นซึ่งไม่อาจสามารถประเมินค่าเป็นจำนวนเงินได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคู่กรณี(ผู้เสียหาย)จะเรียกร้องกับผู้ทำความเสียหายจะตกลงกัน ซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจของผู้เสียหายทำให้เป็นการยากที่จะเจรจากันได้โดยง่ายเมื่อเกิดเหตุขึ้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นไม่สามารถตัดสินว่าใครเป็นฝ่ายถูกใครเป็นฝ่ายผิด แต่มีหน้าที่สำคัญคือไกลเกลี่ยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ตกลงกันอย่างเรียบร้อยและลงบันทึกประจำวันเอาไว้เท่านั้น
ส่วนกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ใครจะฟ้องร้องกันอย่างไร ก็ต้องไปฟ้องร้องกันที่ศาลเอาเอง ก็เป็นที่รู้ๆกันว่าส่วนมากทางประกันมักไม่ค่อยที่จะยอมจ่ายให้และไม่ให้เรายอมรับผิดถ้ากรณีที่ไม่ผิดจริงๆแบบเห็นจะ ๆ เช่น ผิดกฎจราจร เมาแล้วประมาท อันนี้บางที่ประกันก็ไม่จ่ายเพราะมีระบุไว้ในข้อยกเว้นกรมธรรม์
อีกเรื่องหนึ่งคือหากผลต่างไม่มากเกินไปจะยอมเสียก็ได้ จะดีกว่าถ้าคุณต้องเสียเบี้ยประกันที่แพงขึ้นในปีถัดไป

อัตราภาษีรถยนต์

ราคาภาษีรถยนต์

อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522

1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
2. จัดเก็บเป็นรายคัน
3. จัดเก็บตามน้ำหนัก

1.จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยมีอัตรา ดังนี้
1.1 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท 1.2 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท 1.3 เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท ทั้งนี้ หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ ให้จัดเก็บในอัตราสองเท่า
นอกจากนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้

ปีที่ 6 ร้อยละ 10
ปีที่ 7 ร้อยละ 20
ปีที่ 8 ร้อยละ 30
ปีที่ 9 ร้อยละ 40
ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

ตัวอย่าง
การคำนวณภาษีรถยนต์ กรณีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) 

Toyota Camry เครื่องยนต์ 2,500 cc จดทะเบียน มาแล้ว 7 ปี (คำนวนภาษีปีที่ 8)

วิธีคิด 
1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600x0.5 = 300 บาท 
2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท 
3. เกิน 1800 cc ละ 4 บาท = (2,500 - 1,800) x 4 = 700 x 4.00 = 2,800 บาท 

รวมค่าภาษี 300+1,800+2,800 บาท = 4,900 บาท
ค่าภาษี ในระหว่าง ปีที่ 1 จนถึงปีที่ 5 = 4,900 บาท

ปีที่ 8 ได้รับส่วนลดค่าภาษี 30% 

= 4,900 บาท*30% = 1,470 บาท
= 4,900-1,470 = 3,430 บาท

ค่าภาษีที่ต้องชะำระในปีที่ 8 = 3,430 บาท
___________________________________________

2. จัดเก็บเป็นรายคัน
รถจักรยานยนต์ 
2.1 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท 
2.2 รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท 
2.3 รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท 
2.4 รถพ่วงนอกจากข้อ 2.3 คันละ 100 บาท 
2.5 รถบดถนน คันละ 200 บาท 
2.6 รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท 
________________________________________________________

3. จัดเก็บตามน้ำหนัก 
3.1 รถบรรทุกส่วนบุคคล(รถกะบะ) 
3.2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้) 
3.3 รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ 
3.4 รถยนต์รับจ้าง 
3.5 รถลากจูง 
3.6 รถแทรกเตอร์ที่มิได้ ใช้ในการเกษตร

 ดูจากตาราง

ตัวอย่าง
การคำนวณค่าภาษี กรณีรรถบรรทุกส่วนบุคคล(รถกะบะ)
น้ำหนักรถ 1,450 กิโลกรัม

ตามตรางอยู่ที่ช่วง 1,251-1,500
ดังนั้นค่าภาษีที่ต้องชำระ = 900 บาท

10 เรื่องที่คุณควรต้องรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์


10 เรื่องที่คุณควรต้องรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์

     1. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ  NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด เพราะว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอาทำให้ไม่ตรงกับข้อสัญญาในกรมธรรม์ ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์

     2. ค่า Excess หรือค่าใช้จ่ายในส่วนแรกนั้น กรณีไม่มีคู่กรณีจะจ่ายเพียง 1,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท (จ่ายให้บริษัทประกัน)

     3. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง โดยที่ไม่สามารถนำไปซ่อมกลับคืนได้ ทางบริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย

     4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินสดตามราคาที่บริษัืทได้ประเมินความเสียหายของรถไว้เพื่อนำไปจัดหาเองซื้อเปลี่ยนเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่

     5. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์นั้นจะมีผลทันทีเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัท (ซึ่งรวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วยเช่นกัน) ดังนั้นแม้ว่าการที่ซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง  บริษัทรับประกันภัยก็จะปฏิเสธความรับผิดชอบมิได้

     6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น "ฝ่ายถูก" คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์

     7. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และคุณไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด คุณไม่จำเป็นต้องเซ็นรับผิดในใบเครมโดยทันทีและ้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถบังคับให้เซ็นรับผิดแต่มีหน้าที่แค่เพียงไกล่เกลี่ย เพราะไม่ใช่กติกาหรือข้อกฏหมายแต่เป็นหน้าที่ที่บริษัทซึ่งคุณทำประกันจะไปทำการตกลงให้    

     8. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อมเสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าซ่อม

     9. ห้ามหนีเมื่อขับรถชนผู้อื่น ให้รีบช่วยเหลือ และถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วยเผื่อต้องต่อสู้คดีความจะได้พิจารณาโทษจากหนักเป็นเบา  ถ้าหนีมีโทษอาจจะถึงขั้นติดคุกทันที

    10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่   


 www.facebook.com/wininsure/

คำพิพากษาค่าสินไหมดแทน

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เขียนโดย  Vakin Youngchoay มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามคว...