รายได้เสริมสู่อาชีพหลัก



เดิมทีเราทำงานประจำอยู่โรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี การทำงานก็เหมือนคนอื่นทั่วไปที่รอรับเงินเมื่อถึงเวลาสิ้นเดือนพอใช้บ้างไม่พอบ้างเป็นอย่างนี่มา4ปีกว่า จนมารู้จักกับธุรกิจเครือข่ายก็ลองทำดูหลายที่ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ กระทั่งมีพี่ทีี่รู้จักกันมาชวนทำธุรกิจเครือข่ายประกันภัยรถยนต์โดยให้เหตุผลในการทำธุรกิจดังนี้
1. พรบ กฎหมายบังคับรถทุกคันต้องทำ
2.ประกันภัยภาคสมัครใจก็สำคัญเพราะคนใช้รถทุกคนย่อมรักและหวงแหนในทรัพย์สินของตนเองเสมอ
3.จำนวนรถที่มีมากขึ้นในทุกๆปี นั่นหมายความว่าลูกค้าของเราจะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
4.ผลตอบแทนจากการขายหรือแนะนำขยายเครือข่ายทีมงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
5.ไม่กระทบกับงานประจำที่ทำอยู่สามารถสะสมฐานลูกค้าได้ทุกปี
จากเหตุผลข้างต้นนี้เองทำให้เราตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจด้วยโดยไม่ลังเล เริ่มจากเปิดตัวกับเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้างว่าเราขายประกันภัย พรบ นะ นานปีเข้าเริ่มมีประสบการณ์ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั้งจากการขายเองและการแนะนำเครือข่าย จนวันนึงเราตัดสินลาออกจากงานมาทำเต็มด้วย ปรากฎว่ามันไปได้ดีทีเดียวจนได้เปิดร้านเอง จึงอยากแนะนำผู้ที่หาช่องทางเพิ่มรายได้ลองทำดูครับ ลงทุนเพียง 200บาทแต่ได้กลัามาขนาดนี้ คุ้มครับ



ถ้าสิ่งที่ท่านอยากได้ คือต้องการ “เพื่มช่องทางในการสร้างรายได้”
จากธุรกิจประกันภัยรถยนต์  เรายินดีอย่างยิ่ง ที่จะให้คำแนะนำ
เป็นที่ปรึกษา ในการเริ่มต้น ตั้งแต่ไม่รู้อะไร จนสามารถทำงาน
และมีรายได้ ได้ในที่สุด
เรามีทีมงานมืออาชีพ ที่จะคอยแนะนำ แก้ไขปัญหาให้ท่าน
ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะอยุ่ที่ไหน ไม่ต้องกังวล เรามีเครื่องมือ
ซัพพอร์ท  แนะนำ ดูแล ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาในการทำงาน
ผ่านระบบออนไลน์  เราเชื่อว่า การที่มีระบบที่ดี ทีมงานที่ดี
จะทำให้ธุรกิจท่าน ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และ ก่อเกิดผลลัพย์เรื่องรายได้ อย่างมั่นคง ในที่สุด
#จะดีกว่าไหม หากประกันภัยที่คุณซื้อทุกปีมีส่วดสมาชิก
#จะดีกว่าไหม หากประกันภัยสร้างรายได้ให้กับคุณ
#จะดีกว่าไหม หากประกันภัยจะเป็นธุรกิจของคุณ
**IBSC BROKER ตอบโจทย์ให้คุณได้ทุกข้อ สมัครสมาชิก
Tel:0837536647

ลิ้งค์สมัครตรงกับบริษัทhttp://ibscbroker.co.th/register.php?1001909
แอ๊ดไลน์ คลิ๊กที่นี่ http://line.me/ti/p/~tomkung-
@@ ปรึกษาฟรีได้ที่ @@
คุณศราวุธ พ่วงอินทร์
Tel/Line :0837536647
E-mail : sarawut.pu@asiainsurance.co.th

การเรียกร้องค่าสินไหมจากอุบัติเหตุ

การเรียกร้องสินไหมนั้น ไม่มีแบบฟอร์มที่ตายตัวดังนั้นผู้ร้องสามารถเขียนขึ้นมาตามความเป็นจริงได้เอง 
ตัวอย่างการเรียกร้องค่าสินไหมจากอุบัติเหตุ
สมมุติเพื่อนได้รับอุบติเหตุขี่รถจักรยานยนต์แล้วถูกรถยนต์ชน ทางประกันของคู่กรณียอมรับว่าเป็นความผิดของลูกค้าเขา รถจักรยานยนต์ที่เพื่อนผมขับตอนถูกชนเป็นของพ่อเขา พ่อเขาแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว
เพื่อนผมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง  ค่ารักษาก็ใช้ส่วนของ พรบ. ( 80,000 บาท)ไปแล้ว ทางบริษัทประกันมีวงเงินให้เคลมได้ 250,000 บาท คุยกับตัวแทนประกันแล้วเขาบอกว่า ทางประกันจะจ่ายค่าซ่อมรถ รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด โดยรวมแล้วไม่เกิน 250,000 บาท เมื่อถามถึงค่าสินไหมค่าทำขวัญเขาให้คำตอบว่า ต้องให้แพทย์ผู้รักษาลงความเห็นว่า ผู้เสียหายทำงานไมได้นานกี่เดือนแล้วคำนวนออกมาเป็นค่าชดเชยที่ทำงานไม่ได้ โดยค่าชดเชยนี่ก็รวมใน 250,000 บาทด้วย
อยากทราบว่า ผู้เสียหายจะเรียกร้องอะไรเพิ่มจาก คู่กรณีเพิ่มได้ไหมครับ นอกเหนือจากค่าชดเชยที่แพทย์ลงความเห็น ผมถามผู้ที่ทำงานในวงการประกันเขาบอกว่าแพทย์ลงความเห็นอย่างมาก็ 3 เดือน แต่ดูอาการแล้ว กระดูกตรงเหนือเข่าแตกละเอียดน่าจะต้องพักไม่ต่ำกว่าหกเดือน ทางคู่กรณีท่านก็ไม่กะจะควักสักบาทเลยให้ทุกอย่างอยู่ใน 250,000 หมดเลย  / เป็นคำถามจากเวป ครับ    สมมุติว่าเขามาถามว่าเหตุการณ์เป็นแบบนี้   ท่านจะแนะนำเขาอย่างไร
คำตอบดังนี้ครับ
เบื้องต้นคิดเอาว่า น่าจะ พักรักษาตัว 6 เดือน  แต่ ประกันภัย ฝ่ายสินไหม ย่อมต้องเขี้ยวไว้ก่อน  อ้างอิง หลักฐานทางกฏหมาย คือ  ประจำวัน และ ใบรับรองแพทย์  
หากใบรับรองแพทย์  ลงแค่  3 เดือน  ย่อม มีค่าขาดประโยชน์  ค่าขาดรายได้  ประเมิน ไว้เพียง 90 วัน  และค่าอนามัยภายภาคหน้า อีกจำนวนหนึ่ง โดยประเมินจาก หน้าที่การงาน    หากคนเจ้บ มี ใบรับรองเงินเดือน เอกรายได้ได้อื่นเพิ่มเติม  จึงจะได้สิทธิ์พิจารณา ค่าขาดประโยชน์  สูงกว่า 300 ต่อวัน  
#ดังนั้นหากเคสนี้ 
#ใบรับรองแพทย์ ระบุ   90 วัน  ค่าเแรงงานขั้นต่ำ  300 x 90 =  27,000.-
#ค่าอนามัยภายภาคหน้า ค่าเดินทางพบแพทย์นัดตรวจ ค่ายารักษาเพิ่มเติมตามแพทย์นัด  ตามแต่ตำแหน่งหน้าที่การงาน  ประเมิน เขี้ยวๆไว้ก่อน(ไม่มีหลักฐานหน้าที่การงานมาแสดง)  ให้เพิ่มอีก  เดือน ละ 1,000 - 2,000.- บาท   สูงสุด 2,000 x 3 เดือน = 6,000.- บาท
#ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ  เนื่องจากแจ้งว่ารถเป็นของพ่อ  อาจจะต้องลำดับว่าพ่อเป็นคนใช้รถประจำ  หรือ คนเจ็บเป็นคนใช้รถประจำ  และปกติ รถ จยย. ใช้ทำอะไร ใช้ขับขี่ไปทำงาน ระยะทาง ต่อวันกี่ กม.  แต่หากเป็นรถที่ ใช้ขับขี่ส่งของเป็นประจำ หรือ เป็นรถ วินมอเตอร์ไซด์  จะมีค่าขาดประโยชน์ สูงกว่า  หากเป็นรถทั่วไป  ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ นับจากวันเกิดเหตุ จนเจรจายุติการเรียกร้องได้ หรือ รถซ่อมเสร็จและได้รับคืนกลับมาใช้ขับขี่แล้ว   เป็นระยะเวลากี่วัน   ฝ่ายสินไหมจะประเมิณให้ จยย. ไม่เกิน วัน ละ 150 - 300 ต่อวัน ครับ (นอกจากจะเป็น ดูคาติ)  หาก สมมติ ว่า ซ่อมและได้รับรถกลับมาใช้งานปกติแล้ว  เป็นระยะเวลา  40 วัน  ก็มีค่าขาดประโยนชน์จากการใช้รถ ประมาณ  150 x 40 = 6,000 บาท
#รวมค่าสินไหมทดแทน ที่ประเมิณตามเกณฑ์พื้นฐาน กรณี ไม่มีเอกสารแสดงหน้าที่การงาน (ที่รายได้สูง)  คือ  ค่าขาดประโยชน์ จากการหยุดงานพักรักษาตัว ค่าอนามัยภายภาคหน้า ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ รวมเคสนี้  พึงได้รับ    27,000 + 6,000 + 6,000 =  39,000.- บาท  ครับ 
ที่กล่าวมายังไม่รวม  ค่ารักษาพยาบาล ที่ โรงพยาบาลใช้สิทธิ์เบิกตรงกับประกัน  แทนคนเจ็บ ไปเต็มจำนวน 80,000 บาทแล้วนะครับ  เคสนี้ จบ 250,000 ถือว่า เรียกร้องได้สูงแล้ว ครับ
#ข้อสงสัยคือ ทำไม ประกันชดใช้สูงครับ   เป็นไปได้ไม๊ว่า 
1.บาดเจ็บมากกว่าที่เข่าหรือไม่  จนทำให้ความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ด้อยประสิทธิภาพลงหรือไม่  หากเป็นดังนั้น ต้องมีใบรับรองแพทย์ วินิจฉัยว่า กลายเป็นบุคคลทุพลลภาพ ถาวร หรือชั่วคราว  หรือไม่อย่างไร  
#เพราะหากมีผลวินิจฉัยจากแพทย์ ยืนยืนให้เป็นบุคคลทุพลภาพ  จะได้สิทธิ์ ค่าสินไหมทดแทน จากส่วน ของ พ.ร.บ.   300,000  บาท ค่าชดเชยรายได้ จาก พ.ร.บ. 20 วัน วันละ 200  รวม   304,000.-  โดยหากมีค่ารักษาพยาบาลเท่าไรที่ โรงพยาบาลตั้งเบิกมา (ปกติ เบิกแค่เบื้องต้น 30,000 เพราะคนขับขี่เจ็บ ยังไม่รู้ถูกผิดในเบื้องต้น)  แล้วประกัน พิจารณาจ่าย เหมารวม  แค่ 250,000 บาท  
กลายเป็นว่า  ประกันจ่ายน้อยกว่า หลักการพิจารณาสินไหมเบื้องต้นโดยไม่ต้องพิจารณาฐานณุรูป ครับ   เพราะ หากผู้เสียหาย เสียชีวิต อวัยวะ หรือ ทุพลลภาพ ถาวร / ชั่วคราว อย่างใดอย่างหนึ่ง ประกันภัย ภาคสมัครใจ ประเภท 1,2,3,2+,3+ ประเภท 5  ต้อง ชดใช้สินไหมขั้นต่ำส่วนเกินจาก พ.ร.บ.จ่าย ไม่ต่ำกว่า  100,000  บาท   หากคู่กรณีไม่ยินยอมความจึงใช้หลักพิจารณาฐานณุรูปมาเพิ่มเติม 
#เท่ากับ หากเคสที่เล่ามา กลายเป็น สูญเสียอวัยวะ หรือ พิการ โดยมีหลักฐานผลชันสูตร ใบวินิจฉัยจากแพทย์ ยืนยันว่ากลายเป็นคนพิการ  เคสนี้  พ.ร.บ. จ่าย วงเงิน รวมค่ารักษาที่โรงบาลเบิก 30,000 หรือ เต็ม 80,000  ที่เหลือมอบให้คนเจ็บ  รวมยอด 304,000 บาท   และต้องได้จาก ประกันภาคสมัครใจอีก  100,000  ขั้นต่ำ ครับ   นี่คือเรื่อง ค่าสินไหมทดแทนค่าอนามัยนะครับ     ยังไม่รวม ค่าซ่อมรถ จยย. ครับ   
#เท่ากับหากเป็นบุคคลทุพลลภาพขึ้นมา  ต้องได้ขั้นต่ำ  304,000  และยังใช้สิทธิ์เรียกร้องเพิ่มเติมได้อีก ครับ  และยังไม่เกี่ยวกับค่าซ่อมรถ และค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอีกครับ
 หากท่านได้สามารถทำเองได้เรายินดีรับทำเรื่องให้จากทนายผู้มีความชำนาญ
รับปรึกษาการเรียกร้องสินไหม โทร 0837536647










ความสำคัญของ พรบ

พ.ร.บ. = พระราชบัญญัติ
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

หรือชื่อเต็มๆ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกต้องทำและต้องมีไว้เป็นขั้นพื้นฐาน (ซึ่งจะแตกต่างจากประกันภาคสมัครใจ) ก็เพื่อว่าต้องการให้คนในรถทุกคันหรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนเป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้จัดทำ พ.ร.บ. ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในรถหรือนอกรถหรือบุคคลที่ใช้ถนน เดินถนน ถูกเฉี่ยวชน ผู้ที่ประสบภัยจากรถได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ใดก็ตามที่เกี่ยวกับรถ มั่นใจได้ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากเงินกองกลางอย่างทั้นท่วงที

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ

ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน

1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม 35,000 บาท
(1,2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น)
คำถาม
มีนักเรียนสองคนขับมอเตอร์ไซค์คู่ใจซึ่งไม่มี พรบ.ขับขี่รถไปด้วยความคึกคะนองแล้วประสบอุบัติเหตุชนกับรถกระบะซึ่งได้ทำ พรบ.และประกันภาคสมัครใจไว้กับบริษัทใจดีประกันภัย จากเหตุการณ์ดังกล่าวนักเรียนเป็นเหตุให้นักเรียนซึ่งเป็นผู้ขับขี่และซ้อนท้ายเสียชีวิตทันที จากการสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่สรุปว่ามอเตอร์ไซค์เป็นฝ่ายประมาท     อยากทราบว่า พรบ จะชอเชยหรือไม่อย่างไร
ตอบตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำถามนะครับ คดีนี้ มอไซด์เป็นฝ่ายผิด และไม่มี พรบ.
1. คนขับ มอไซด์ เป็นฝ่ายผิด แต่รถไม่มี พรบ. ทายาทรียกค่าเสียหายจาก กองทุนฯ ได้ 35,000 บาท
2. คนซ้อนแม้ไม่ผิด ก็เรียกจากกองทุนฯ ได้เพียง 35,000 บาท หาก รถมอร์ไซด์ มี พรบ.จะได้ 300,000 บาท
3. เมื่อกองทุนจ่ายให้ เงินกับทายาทผู้ตายทั้งสองคน จำนวน 70,000 บาท แล้ว ก็จะมาเรียกคืนกับเจ้าของรถ มอไซด์ที่ไม่ทำ พรบ.ต่อไป หาก เจ้าของรถกับผู้ขับขี่เป็นคน ๆ เดียงกัน ก็จะไปเรียกกับกองมรดกของผู้ขับขี่ ส่วนจะได้หรือไม่ได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ก็ไปฟ้องทางแพ่งกับทายาทผู้ขับขี่ต่อไป
4. ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถ กะบะที่ มี ป.1 เมื่อประกันฝ่ายรถกะบะซ่อมให้แล้ว ประกันก็จะมาฟ้องเรียกค่าเสียหายกับ ทายาท ที่รับมรดกของผู้ตายที่เป็นผู้ขับขี่ต่อไป

ตามที่บอกไว้ ภาษีขาดได้ แต่ พรบ.ขาดไม่ได้เพราะจำเป็นมาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุแบบนี้ ถ้ามี พรบ.คนซ้อน เรียกสินไหมทดแทนจาก พรบ.ได้ 300,000 บาท เพราะคนซ้อนไม่มีโอกาสเป็นผู้ประมาทได้

ผู้มีหน้าที่ จัดให้รถยนต์ที่ใช่ขับขี่ต้องทำ พรบ. มี 2 คน ดังนี้ 1.เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครอง 2.ผู้ขับขี่ ดังนั้นหากจะยืมรถคนอื่นมาขับต้องดูให้ดีเสียก่อนว่า รถที่ขอยืมมานั้น ได้จัดให้มี พรบ.หรือไม่

ทำประกันชั้นหนึ่งเคลมยางได้หรือไม่

ทำอย่างไรเมื่อล้อและยางรถยนต์ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ ล้อและยางรถยนต์นับได้ว่าเป็นส่วนควบและอุปกรณ์ (ยางอะไหล่ ) ที่มีสำคัญต่อตัวรถ เพราะถ้าไม่มีล้อและยางรถยนต์แล้ว รถยนต์คงไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ปกติเวลาถ้ารถยนต์ยังใช้งานได้ตามปกติเราอาจมองไม่เห็นความสำคัญเท่าไหร่ แต่ถ้าเมื่อไหร่ล้อและยางรถยนต์ได้เกิดปัญหาขึ้นมา เป็นปัญหาใหญ่อย่างแน่นอนครับ ไม่ว่าจะเป็นกรณีรถชนเกิดความเสียหายที่ล้อและยาง หรือยางรถถูกคนร้ายมาลักหรือขโมยไป ( งานเข้าแน่นอนครับ )
หลายคนอาจจะไม่ทราบ และหลายคนคงจะทราบแล้ว ว่า ถ้ารถยนต์ของเรามีประกันภัยประเภท 1 ที่คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถ สามารถเคลมความเสียหายในส่วนของล้อและยางรถยนต์ได้ ( ทั้งกรณีรถเกิดอุบัติเหตุชนและถูกลักยางอะไหล่ กรณีถูกลักถ้าเป็นประกันภัยประเภท 2 ทุกชนิด สามารถเคลมได้เช่นเดียวกันครับ )
หลายคนคงเคยเคลมความเสียหายในส่วนของล้อและยางรถยนต์กับบริษัทประกัยมาแล้ว แต่อาจยังมีข้อข้องใจอยู่ว่า ทำไมกรณีของยางรถยนต์ทำไมประกันไม่จ่ายค่าเสียหายเต็มจำนวน ( ทั้งกรณีเป็นฝ่ายถูกชน ) ปัยหาตรงนี้ประกันแต่ละบริษัทยังปฎิบัติไม่เหมือนกัน ผู้เขียนจึงนำปัญหาในกรณีนี้มาอธิบาย ดังนี้ครับ
ล้อและยางรถยนต์เป็นส่วนควบและอุปกรณ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 และประเภท 2 ธรรมดาและ 2 พลัส ดังนี้
ประเภท 1 คุ้มครองความเสียหายจากการชน และการลักทรัพย์
ประเภท 2 และ 2 พิเศษ คุ้มครองเฉพาะจากการลักทรัพย์เท่านั้น

กรณีความเสียหายจากการชน มีการแบ่งแยกความคุ้มครองดังนี้
ความเสียหายต่อล้อแม็กซ์,ล้อ คุ้มครองเต็มมูลค่าของล้อแม็กซ์หรือล้อที่เสียหาย แต่มีเงื่อนไขความคุ้มครองอีกคือ ถ้าเป็นล้อแม็กซ์หรือล้อเดิม ( เดิมๆ ที่ติดมากับตัวรถ ) ประกันจะรับผิดชอบให้เต็มมูลค่า แต่ปัญหาคือ ถ้าลูกค้าไปเปลี่ยนล้อแม็กซ์มาใหม่ ใหญ่ขึ้น มีราคาสูงขึ้นเกินมูลค่าของล้อเดิมมาก , เพราะถ้ามูลค่าน้อยหรือเท่าล้อเดิมก็จะไม่มีปัญหา ) บริษัทประกันส่วนมากจะคุ้มครองให้ ต่อเมื่อลูกค้าได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นไปให้บริษัทประกันทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ( เพราะว่าบริษัทประกันต้องรับทราบในการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของทรัพย์สินตามความคุ้มครองในกรมธรรม์ ถือเป็นสาระสำคัญที่ลูกค้าจะต้องแจ้ง ถ้าไม่แจ้ง บริษัท มีสิทธิ์ปฎิเสธความคุ้มครอง หรือ คุ้มครองเพียงราคามาตรฐานที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตเท่านัน )

ความเสียหายต่อยาง บริษัทประกันส่วนมากจะคุ้มครองให้ลูกค้าในอัตราร้อยละ 50 หรือ 50 % ของราคาค่ายาง ( โดยเหตุผลว่าต้องมีการหักค่าเสื่อมการใช้งาน เพราะยางรถยนต์นั้น ถือได้ว่าเป็อุปกรณ์ที่มีความเสื่อมในตัววของมันเอง คือ ใช้ไปเสื่อมไป แม้ไม่มีการชน หรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นลูกค้า หรือผู้ใช้รถก็ยังคงต้อเปลี่ยน พเราะมันสึกหรอตามสภาพหรืออายุการใช้งานของมันเอง โดยบริษัทประกันจะตั้งมาตรฐานกลางๆไว้ แม้ยางของลูกค้าที่เสียหายจะเป็นยางใหม่ ( ใช้งานมาไม่นาน ไม่ถึงเดือน หรือ ถ้าเป็นยางอะไหล่อาจจะไม่เคยมีการใช้เลยก็ได้ ) กรณีดังกล่าว ถ้าลูกค้าเป็นยางเก่าใช้งานมานาน 1-2 ปี ใกล้เวลาที่จะต้องเปลี่ยนแล้วคงไม่เป็นไร ยอมรับได้ แต่ว่าถ้ายางของลูกค้าเป็นยางใหม่ คงจะทำใจลำบากเพราะต้องเสียค่ายางเองอีก 50 % ดังนั้นเวลาเคลม ลูกค้าส่วนมากจะต้องบอกว่าประกันเอาเปรียบ ในบางบริษัทอาจตั้งเงื่อนไขว่ากรณีของยางบริษัทจะรับผิดชอบให้นั้น ความเสียหายต้องเกิดจากการชน และมีความเสียหายที่บริเวณแก้มยาง ( ส่วนที่จากขอบล้อลงไปถึงส่วนที่สัมผัสพื้นถนน ) และอุบัติเหตุกรณีของยางจะต้องมีส่วนควบของตัวรถได้รับความเสียหายด้วย เช่น ล้อแม็กซ์ครูด,บิ่น ( ยางอย่างเดียวไม่รับผิดชอบ ) ฯลฯ ส่วนมากจะปฎิเสธไว้ก่อน ( ตามภาพถ่าย )
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยางรถยนต์
CC by. ปพน ศิรสิทธิ์

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

การเรียกค่าขาดประโยชนืจากการใช้รถไม่มีแบบฟอร์มที่แน่นอนผู้ร้องสามารถเขียนข้อเรียกร้องเองได้เลยดังตัวอย่างนี้เป็นแนวทาง
กรณีเกิดเหตุ  รถคู่กรณีมีประกันภัย ประกันภัยคู่กรณีขอเจรจา ว่าจะรับผิดชอบค่าซ่อมให้ และส่งสัญญาประณีประนอม แบบนี้ให้ลงชื่อ แบบนี้ถ้าลงชื่อไปแล้ว จะไม่สามารถเรียกร้องค่าขาดการใช้รถได้ในภายหลัง และค่าซ่อม ที่ตกลงกันไว้อาจได้ไม่ครบ เพราะเขาจะเขียนขึ้นเองภายหลัง หากเกิดลักษณะนี้ ต้องให้ บริษัทประกันภัยเขียนข้อความโดยไม่มีที่ว่างที่จะเพิ่มเติมภายหลังได้
และหากฟ้อง คปภ.หรือเรียกค่าเสียหายอะไรอีกไม่ได้เลย
ไม่ว่าเป็นสัญญาอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเป็นลักษณะนี้อย่าลงชื่อ อ่านให้ละเอียดเสียก่อน สำหรับเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กับบริษัทประกันภัย อย่างไรก็เรียกได้อยู่แล้วครับ เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีการเรียกร้องเท่านั้น ครับ ประกันภัยมีทุนสำรองเยอะ แต่การเรียกค่าเสียหายก็ต้องเรียกตามจริง คือค่าเสียหายเท่าไหร่ก็เรียกได้เท่านั้น หากบริษัทประกันภัยจ่ายช้า โดยนับแตั้งได้รับจดหมายจากผู้ผู้หาย ถ้ารับแล้วไม่จ่าย เริ่มคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีได้เลย  เมื่อก่อน กฎหมายให้ร้อยละ 7 ต่อปี ปัจจุบันแก้เป็นร้อยละ 15 ต่อปี  ยิ่งจ่ายช้าเราได้ดอกเบี้ยเยอะ ครับ
การแจ้งให้บริษัทจ่าย ต้องมีหลักฐาน นะครับ เจราจาปากเปล่า โทรศัพท์ตกลงกัน แบบนี้ ยังเรียกดอกเบี้ยลำบาก    หลักการเรียกดอกเบี้ยคือ  ลูกหนี้ผิดนัด ทวงแล้วไม่จ่ายประมาณนั้น  บริษัทประกันภัยถือเป็นลูกหนี้ทันที ที่รถคันเอาประกันทำความเสียหายกับรถเรา แต่เราต้องมีจดหมายทวงก่อน ไม่ทวงเขาก็ไม่จ่ายประมาณนั้น ครับ
กฎหมายประกันภัย ดีตรงที่ราฎษรทำคดีได้เอง ครับ ฟ้องเองได้
ตัวอย่างการเขียนหนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
ตัวอย่างการเขียนหนังสือเรียกร้องค่าขาดการใช้รถยนต์  แบบแนวทางครับ ถ้าจำนวนเงินเยอะ แนะนำให้ผู้มีความรุ้ทำให้จะดีกว่า เพราะ ประกันคงไม่จ่ายง่าย ๆ ต้องมีมาตราการบังคับ อาจต้อง ถึงสุดท้ายคือ การฟ้องคุณอนุญาโตตุลาการ  แต่ถ้าเล็ก ๆ น้อย ก็ ขอได้เลย ประกันจ่ายให้อยู่แล้ว วันละ 300 บาท
ขั้นตอนจะมี 3 ช่วง  ช่วงแรก  เขียนถึงบริษัท ถ้าเงินไม่เยอะ ตกลงกันได้ ก็รับเข็คเงินสด ถ้าเงินเยอะ จะถูกดองเรื่องหรือดึงเรื่องให้ช้า หรือหาเหตุอ้างเหตุที่ไม่จ่าย ขึ้นตอนนี้ต้องร้องเรียน คปภ.เพื่อไกล่เกลี่ย ถ้าตกลงได้ก็จบ ถ้าตกลงไม่ได้ ก็ต้องยื่นข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการ เพื่อเป็นผู้ตัดสิน  จะมี 3 ขั้น
แต่ส่วนใหญ่ประกันจะดึงเรื่องจ่ายช้า เพื่อให้ผู้เสียหายตกลงตามที่บริษัทเสนอ
ก็เป็นเรื่องปกติในทางธุรกิจ ส่วนการปฎิบัติต้องเตรียมหลักฐานค่าเสียหาย  แบะคำนวนค่าเสียหาย  ให้เป็นยอดเงินที่แน่นอน   ค่าเสียหายที่ไม่มีหลักฐาน จะเหลือประมาณครึ่งเดียว  เช่น ค่ารถแท๊กชี่ ถ้าไม่มีใบเสร็จ จะได้  300  บาท ถ้ามีใบเสร็จก็ได้ตามใบเสร็จ แค่อาจต้องสู้ถึง  คปถ.
ส่วนค่าเสื้อมราคา ปกคิยริษัทตะไม่จ่าย แต่ถ้าถึงขั้นอนุญาโตคุลาการ จะสั่งให้จ่าย เพราะ แม้จะให้ดีอย่างไร ก็ไม่เหมือนเดิม 100 %   ถ้าให้ท่ารชื้อรถ รถที่เคยถูกชนและข่อมมาแล้ว กับรถที่ไม่เคยชนไม่เคยช่อมมาก่อน ท่านจะชื้อรถคันไหน  ตรงนี้คือค่าเสื่อมราคา



เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมีประกันชั้น1ทั้งสองฝ่ายควรทำอย่างไรดี

เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมีประกันชั้น 1 ทั้งสองฝ่าย ควรทำอย่างไรดี?
เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมีประกันชั้น 1 ทั้งสองฝ่าย ควรทำอย่างไรดี?
ประกันชั้น 1 ครอบคลุมทุกอย่างไม่จำเป็นต้องรถชนรถ แต่ต้องเกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น
กรณีศึกษาเมื่อเราเป็นฝ่ายผิด ต้องให้ฝ่ายประกันของเราและคู่กรณี(ผู้เสียหาย)เจรจากันและหากทั้งคู่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าผลต่างอยู่ที่เท่าไหร่ ทางคู่กรณี(ผู้เสียหาย)และทางฝ่ายประกันของคู่กรณีสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากเราได้เมื่อทางฝ่ายประกันเราไม่มีความสามารถที่จะจ่าค่าเสียหายตามที่ถูกเรียกร้องได้ครบ ซึ่งเราต้องรับผิดชอบในผลต่าง
- กรณีที่เกิดความเสียหายเฉพาะกับตัวรถยนต์ซึ่งสามารถประเมินค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนตัวเงินได้ เกิดความเสียหายเท่าใดก็เรียกร้องค่าความเสียหายได้เท่านั้น ถ้าไม่เกินวงเงินประกันก็จ่ายไป แต่ถ้าเกินก็ต้องเสียในส่วนต่างที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งโดยส่วนมากจะไปจบโดยให้พนักงานสอบสวนปรับ 400-1000 บาท
- แต่กรณีที่เกิดเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายและภาวะจิตใจนั้นซึ่งไม่อาจสามารถประเมินค่าเป็นจำนวนเงินได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคู่กรณี(ผู้เสียหาย)จะเรียกร้องกับผู้ทำความเสียหายจะตกลงกัน ซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจของผู้เสียหายทำให้เป็นการยากที่จะเจรจากันได้โดยง่ายเมื่อเกิดเหตุขึ้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นไม่สามารถตัดสินว่าใครเป็นฝ่ายถูกใครเป็นฝ่ายผิด แต่มีหน้าที่สำคัญคือไกลเกลี่ยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ตกลงกันอย่างเรียบร้อยและลงบันทึกประจำวันเอาไว้เท่านั้น
ส่วนกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ใครจะฟ้องร้องกันอย่างไร ก็ต้องไปฟ้องร้องกันที่ศาลเอาเอง ก็เป็นที่รู้ๆกันว่าส่วนมากทางประกันมักไม่ค่อยที่จะยอมจ่ายให้และไม่ให้เรายอมรับผิดถ้ากรณีที่ไม่ผิดจริงๆแบบเห็นจะ ๆ เช่น ผิดกฎจราจร เมาแล้วประมาท อันนี้บางที่ประกันก็ไม่จ่ายเพราะมีระบุไว้ในข้อยกเว้นกรมธรรม์
อีกเรื่องหนึ่งคือหากผลต่างไม่มากเกินไปจะยอมเสียก็ได้ จะดีกว่าถ้าคุณต้องเสียเบี้ยประกันที่แพงขึ้นในปีถัดไป

อัตราภาษีรถยนต์

ราคาภาษีรถยนต์

อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522

1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
2. จัดเก็บเป็นรายคัน
3. จัดเก็บตามน้ำหนัก

1.จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยมีอัตรา ดังนี้
1.1 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท 1.2 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท 1.3 เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท ทั้งนี้ หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ ให้จัดเก็บในอัตราสองเท่า
นอกจากนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้

ปีที่ 6 ร้อยละ 10
ปีที่ 7 ร้อยละ 20
ปีที่ 8 ร้อยละ 30
ปีที่ 9 ร้อยละ 40
ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

ตัวอย่าง
การคำนวณภาษีรถยนต์ กรณีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) 

Toyota Camry เครื่องยนต์ 2,500 cc จดทะเบียน มาแล้ว 7 ปี (คำนวนภาษีปีที่ 8)

วิธีคิด 
1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600x0.5 = 300 บาท 
2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท 
3. เกิน 1800 cc ละ 4 บาท = (2,500 - 1,800) x 4 = 700 x 4.00 = 2,800 บาท 

รวมค่าภาษี 300+1,800+2,800 บาท = 4,900 บาท
ค่าภาษี ในระหว่าง ปีที่ 1 จนถึงปีที่ 5 = 4,900 บาท

ปีที่ 8 ได้รับส่วนลดค่าภาษี 30% 

= 4,900 บาท*30% = 1,470 บาท
= 4,900-1,470 = 3,430 บาท

ค่าภาษีที่ต้องชะำระในปีที่ 8 = 3,430 บาท
___________________________________________

2. จัดเก็บเป็นรายคัน
รถจักรยานยนต์ 
2.1 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท 
2.2 รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท 
2.3 รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท 
2.4 รถพ่วงนอกจากข้อ 2.3 คันละ 100 บาท 
2.5 รถบดถนน คันละ 200 บาท 
2.6 รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท 
________________________________________________________

3. จัดเก็บตามน้ำหนัก 
3.1 รถบรรทุกส่วนบุคคล(รถกะบะ) 
3.2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้) 
3.3 รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ 
3.4 รถยนต์รับจ้าง 
3.5 รถลากจูง 
3.6 รถแทรกเตอร์ที่มิได้ ใช้ในการเกษตร

 ดูจากตาราง

ตัวอย่าง
การคำนวณค่าภาษี กรณีรรถบรรทุกส่วนบุคคล(รถกะบะ)
น้ำหนักรถ 1,450 กิโลกรัม

ตามตรางอยู่ที่ช่วง 1,251-1,500
ดังนั้นค่าภาษีที่ต้องชำระ = 900 บาท

10 เรื่องที่คุณควรต้องรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์


10 เรื่องที่คุณควรต้องรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์

     1. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ  NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด เพราะว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอาทำให้ไม่ตรงกับข้อสัญญาในกรมธรรม์ ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์

     2. ค่า Excess หรือค่าใช้จ่ายในส่วนแรกนั้น กรณีไม่มีคู่กรณีจะจ่ายเพียง 1,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท (จ่ายให้บริษัทประกัน)

     3. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง โดยที่ไม่สามารถนำไปซ่อมกลับคืนได้ ทางบริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย

     4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินสดตามราคาที่บริษัืทได้ประเมินความเสียหายของรถไว้เพื่อนำไปจัดหาเองซื้อเปลี่ยนเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่

     5. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์นั้นจะมีผลทันทีเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัท (ซึ่งรวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วยเช่นกัน) ดังนั้นแม้ว่าการที่ซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง  บริษัทรับประกันภัยก็จะปฏิเสธความรับผิดชอบมิได้

     6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น "ฝ่ายถูก" คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์

     7. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และคุณไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด คุณไม่จำเป็นต้องเซ็นรับผิดในใบเครมโดยทันทีและ้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถบังคับให้เซ็นรับผิดแต่มีหน้าที่แค่เพียงไกล่เกลี่ย เพราะไม่ใช่กติกาหรือข้อกฏหมายแต่เป็นหน้าที่ที่บริษัทซึ่งคุณทำประกันจะไปทำการตกลงให้    

     8. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อมเสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าซ่อม

     9. ห้ามหนีเมื่อขับรถชนผู้อื่น ให้รีบช่วยเหลือ และถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วยเผื่อต้องต่อสู้คดีความจะได้พิจารณาโทษจากหนักเป็นเบา  ถ้าหนีมีโทษอาจจะถึงขั้นติดคุกทันที

    10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่   


 www.facebook.com/wininsure/

ศึกษากฎหมายเมื่อมีอุบัติเหตุ

ศึกษากฎหมายเมื่อมีอุบัติเหตุ

กฎหมายบอกอะไร

    1. บังคับใช้ ให้เคารพกฎหมาย
 2.ผู้ใช้รถใช้ถนน ต้องปฎิบัติตามกฎจราจรที่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
 3.หากไม่ปฎิบัติตามทำให้เกิดอุบัติเหตุจราจรขึ้น
จะต้องพิจารณาความผิด ซึ่งพิจารณาตามกฎหมายที่บังคับใช้ ดังนี้
 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
 ประมวลกฎหมายอาญา 
 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  ความผิดที่ว่ามีอะไรบ้าง
 ขับรถชนคนแล้วหลบหนีปล่อยคนเจ็บเดียวดาย

       ผมขับรถเก๋งชนผู้เคราะห์ร้ายคนหนึ่งตอนนั้นผมตกใจ คิดอะไรไม่ออก ขับรถหนีออกมากลับบ้าน ปล่อยให้พลเมืองดีจัดการนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลคนเดียว ต่อมาผมได้ติดต่อที่สถานีตำรวจขอมอบตัวเพราะนึกได้ว่ารถเก๋งผมมีประกันอยู่ และแสดงความรับผิดชอบค่าเสียหาย กรณีของผมมีความผิดหรือไม่ และต้องรับผิดอย่างไรบ้างครับ ?


         แม้ว่าคุณได้มอบตัวกับตำรวจ พร้อมกับแจ้งว่ารถของคุณมีประกันภัย และบริษัทประกันยินดีรับผิดชอบค่าเสียหายทุกอย่าง แต่คุณยังมีความผิดฐานประมาทตามกฎหมายอาญา ซึ่งต้องพิจารณาตามเจตนา ว่าคุณจงใจขับรถชนเขาหรือไม่ อีกทั้งกฎหมายกำหนดให้คุณต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามพรบ.บุคคลที่ 3 กับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย
 ถ้าพิสูจน์ว่าคุณผิดเต็มประตู เช่น ขับรถฝ่าไฟแดงชนคนกำลังข้ามถนนทางม้าลาย คุณจะมีความผิดตามพ.รบ.จราจรทางบก แล้วคุณยังหลบหนีให้คิดว่าคุณเป็นผู้กระทำผิดไว้ก่อน ตามกฎหมายนี้

   
ค่าเสียหายเรียกร้องจากที่ไหน?  

ค่าเสียหายแบ่งเป็น 2 ส่วน 
 อันดับแรก
      กองทุนทดแทนรับผิดชอบจ่ายค่าทดแทนในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ. บุคคลที่ 3
 อันดับต่อมา
      บริษัทประกันรถยนต์ ซึ่งเจ้าของรถได้ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองไว้ต่างหาก ซึ่งความคุ้มครองนี้คุ้มครองถึงเจ้าของรถยนต์และผู้เสียหายเท่านั้น โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าเสียหาย หรือที่เรียกกันว่าค่าสินไหมทดแทนไม่เกินวงเงินที่ได้ทำประกันภัย

   ถ้าผู้เสียหายต้องการค่าเสียหายมากกว่าวงเงินที่เอาประกัน ต้องพึ่งอำนาจศาลฟ้องร้องกันตามกฎหมายแพ่งฯ ใช้ข้อกฎหมายเรื่อง ละเมิด บังคับเอาได้




กองทุนทดแทนจ่ายค่าเสียหายก่อนทำอย่างไร
       นายลิงโลดกำลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย ได้ถูกรถยนต์คันหนึ่ง วิ่งมาด้วยความเร็วสูง จึงไม่สามารถหยุดรถได้ทัน เป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าว ชนนายลิงโลดได้รับบาดเจ็บ และผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าว ได้ขับรถหลบหนีไป นายลิงโลดได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นผู้ขับขี่ และใครเป็นเจ้าของรถ นายลิงโลด จึงยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ของกรมการประกันภัย ตามใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาลจำนวน 32,000 บาท ดังนี้ กองทุนจะสามารถจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือไม่ และเมื่อจ่ายแล้ว กองทุนจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
 กรณีตามปัญหาที่เกิดขึ้น ถือว่ามีความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย และรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นหลบหนีไป หรือไม่อาจทราบได้ว่า รถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย และเป็นกรณีที่ผู้ประสบภัย ไม่อาจขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากเจ้าของรถได้ 
 เมื่อผู้ประสบภัยได้ยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน กองทุนก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 
 กองทุนได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยแล้ว ย่อมเกิดสิทธิแก่กองทุนที่จะไล่เบี้ย เอาจากผู้ขับขี่รถคันดังกล่าวได้ จากนั้นเข้ารับช่วงสิทธิของนายลิงโลด ไปไล่เบี้ยเอากับผู้ขับขี่รถคันดังกล่าว เท่าจำนวนที่จ่ายไป โดยอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 226 มาตรา 227 และมาตรา 229 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 หมายเหตุ กองทุนทดแทนจ่ายค่าเสียหายก่อนแล้วรถมีประกัน
           แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่า รถคันดังกล่าว ได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย กองทุนก็สามารถจะรับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัย ไล่เบี้ยเอากับบริษัทประกันภัยได้ โดยอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 226 มาตรา 227 และมาตรา 229 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ค่าสินไหมทดแทนชดใช้อย่างไร?  

 รถยนต์ของจิ๊บถูกขโมย ซึ่งรถยนต์ของจิ๊บได้ทำประกันภัยประเภท 1 เอาไว้ ต่อมาตำรวจได้จับกุมคนขโมยได้พร้อมกับรถยนต์ ปรากฎว่ารถยนต์ได้รับความเสียหาย มีรอยถูกชน และสีของรถที่ขโมยได้พ่นทับเป็นสีเขียวจากเดิมสีแดง แต่บริษัทประกันภัยตกลงจะซ่อมรถยนต์เฉพาะที่มีรอยถูกชน และเปลี่ยนอะไหล่ที่ใช้ไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้เปลี่ยนสีกลับมาเป็นสีแดงดังเดิม ค่าสินไหมทดแทนที่จิ๊บจะได้จากบริษัทประกันภัยนั้นมีขอบเขตเท่าใด?

  ตามหลักการ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยทั่วไปแล้วสามารถกระทำได้ 4 วิธีคือ  
หลักการชดใช้ค่าเสียหาย

  1.ชดใช้เป็นเงินสด ถ้าตกลงยอมรับเป็นเงินสด
 2.ซ่อมแซม หากเกิดความเสียหายบางส่วน และสามารถซ่อมแซมกลับคืนสภาพเดิมได้
 3.จัดหาทรัพย์สินมาทดแทน ถ้าไม่สามารถซ่อมแซมได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ใน ชนิด ประเภท ปริมาณเดียวกัน
 4.ทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม แต่ถ้าสภาพใหม่มีราคาสูงขึ้น สามารถตกลงใช้เป็นเงินสดได้
    กรณีที่สอบถามมาเป็นวิธีที่ 4 คือ การกลับสู่สภาพเดิม การชดใช้โดยวิธีนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะรถยนต์มีขายโดยทั่วไป จึงใช้วิธีจัดการรถยนต์ใหม่มาแทน กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จึงไม่ได้กำหนดไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องยึดถือตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่า
1. ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร 
2. ให้ตีความตามประสงค์โดยพิจารณาถึงประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา


  ดังนั้น   
จึงมีความเห็นว่า บริษัทจำต้องเปลี่ยนสีรถยนต์ให้เป็นสีเดิม แต่ถ้ารถยนต์ใช้งานมานาน สีเก่ามาก ถ้าพ่นสีใหม่จะทำให้รถยนต์มีมูลค่าสูงขึ้น ก็ให้มีการตีราคาและหักส่วนที่มีราคาเพิ่มขึ้นออกไป แล้วชดใช้เป็นเงินแทนจะเป็นการดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นการรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ยั่งยืนต่อไป

ให้เพื่อนยืมรถ ขับรถประมาท ประกันจ่ายหรือไม่  
   บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ หรือไม่

นายสมชายเป็นเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ซึ่งได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้ 2 ฉบับคือ 
1.กรมธรรม์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยประเภทหนึ่ง 
2.บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งไว้อีกด้วย

มีรายละเอียดความคุ้มครอง ระบุถึงความรับผิดต่อความบาดเจ็บ หรือมรณะของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อผู้โดยสาร 
ซึ่งตามกรมธรรม์ได้ระบุถึงส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ในวงเงินสูงถึง 100,000 บาท 
วันหนึ่ง นายสมชายได้ยินยอมให้นายสุพจน์ เพื่อนสนิทขับรถยนต์ของตนเอง โดยที่นายสมชายนั่งไปด้วย
แต่นายสุพจน์ขับรถด้วยความคึกคะนอง และประมาทจนเป็นเหตุให้รถยนต์พลิกคว่ำ 
ทั้งนายสมชายและนายสุพจน์ ได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย 
มีค่ารักษาพยาบาลในส่วนของนายสมชายเท่ากับ 90,000 บาท และของนายสุพจน์เท่ากับ 100,000 บาท 

  พิจารณาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แบ่งได้ 2 กรณี คือ

1. หากพิจารณารายละเอียดความคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 
นายสมชายจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย จำนวน 80,000 บาท 
ขณะที่นายสุพจน์ ซึ่งขณะเมื่อเกิดอุบัติเหตุเป็นผู้ขับขี่ ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จนทำให้นายสมชายได้รับบาดเจ็บ ดังนั้น จำนวนเงินเอาประกันภัย จึงต้องถูกลดลงมาเป็นจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคือ 15,000 บาท เท่านั้น


2. ถ้าพิจารณาถึงความคุ้มครอง ส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ คือ ประกันภัย ประเภทหนึ่ง 
นายสมชายจะไม่ได้รับความคุ้มครอง จากการประกันภัยส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ. แม้ตนเองจะเป็นผู้ประสบภัยก็ตาม เพราะเข้าสู่ข้อยกเว้น2.9.1 ที่ยกเว้นไม่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลในครอบครัว ที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัย
ขณะที่นายสุพจน์ซึ่งเป็นผู้ขับขี่ขณะนั้น เป็นผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงถือเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จึงทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามข้อ 2.9.1 ด้วยเช่นกัน

  สรุป    
 นายสมชายและนายสุพจน์ สามารถสรุปลงได้ด้วยความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 
 ซึ่งนายสมชาย จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท 
 ส่วนนายสุพจน์ ได้รับการชดใช้ไปเพียง 15,000 บาท เพราะเป็นผู้ขับขี่ที่มีความประมาทนั่นเอง

  ข้อควรจำ
  อย่าหนี จะมีความผิด เมื่อเกิดอุบัติเหตุควรเจรจา 
 การตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล ให้กับผู้ประสบอุบัติเหตุจราจร มิได้ทำให้ผู้กระทำให้เกิดอุบัติเหตุพ้นจากความผิดทางอาญาไปได้

   
กฎหมายใฃ้บ่อย  
 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
กองทุนทดแทนรับผิดชอบจ่ายค่าทดแทนในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากรถเป็นอันดับแรก
หน้าที่ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองฯ
 จัดทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ติดเครื่องหมายแสดงการทำประกันภัยไว้ให้ถูกต้อง


  พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องปฏิบัติตามกฎจราจร ซึ่งบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 จึงจะถือได้ว่าใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่หากไม่ได้ปฏิบัติตามกฎจราจร ก็อาจถือได้ว่ามิได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัย
มาตรา 78 วรรค 2 " ผู้ขับขี่รถที่หลบหนีไปให้สัณนิษฐานว่า เป็นผู้กระทำผิด"
มาตรา 140 วรรค 5 " กรณีที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่ง แต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ให้สันนิษฐานว่า เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถ เป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่
หน้าที่ตาม พ.ร.บ. จราจรฯ
  ขับรถตามกฎจราจร
  ปฏิบัติตามเครื่องหมายและสัญญาณจราจร
  ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร

  ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิด เมื่อได้
กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
  อย่างไรจึงถือว่าประมาท?
  ผู้กระทำมิได้กระทำโดยเจตนา
  กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
  ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง แต่ไม่เพียงพอ
  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสีย
หายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจ
ฉัยเป็นประการอื่น
  ความเสียหายจากละเมิดต้องจ่ายค่าทดแทน
  ความเสียหายที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต
  ความเสียหายที่เป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน
  ความเสียหายที่เป็นอันตรายต่อชื่อเสียง
  ความเสียหายเมื่อมิได้สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ
  ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / กรมการประกันภัย/ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา  

ประกันกับความลับที่บริษัทมักไม่เปิดเผย

บ่อยครั้งที่ผู้เอาประกันซื้อกรมธรรม์ประกันภัยด้วย ความเชื่อและเครดิต มากกว่าที่จะตั้งใจอ่านสัญญาในกรมธรรม์

 

          บ่อยครั้งที่ผู้เอาประกันซื้อกรมธรรม์ประกันภัยด้วยความเชื่อและเครดิต มากกว่าที่จะตั้งใจอ่านสัญญาในกรมธรรม์ซึ่งเต็มไปด้วยภาษากฏหมายเข้าใจยาก  ด้วยเหตุนี้ความรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ที่หลายคนยังไม่ทราบจึงยังคงเป็นปริศนาต่อไป การเข้าใจกรมธรรม์แบบง่ายๆ จึงน่าจะสามารถช่วยให้คุณรักษาสิทธิประโยชน์ของคุณไว้ได้อย่างเต็มที่

10 เรื่อง "ต้อง" รู้เกี่ยวกับประกันภัย

          1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จะมีผลทันทีที่ผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัท (รวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วย) ดังนั้นแม้การซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องก็จะปฏิเสธความรับผิดชอบมิได้

          2. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถซ่อมกลับคืนได้ บริษัทต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย

          3. ค่าแอกเซ็ปต์ หรือค่าใช้จ่ายส่วนแรกนั้น ในกรณีไม่มีคู่กรณีจะจ่ายเพียง 1,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท

          4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินตามราคาประเมินเพื่อนำไปจัดหาเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่

          5. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์

          6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น "ฝ่ายถูก" คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงเหรอ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์

          7. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อมเสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าซ่อม

          8. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และคุณไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด คุณไม่จำเป็นต้องเซ็นรับผิดในใบเครม เพราะไม่ใช่กติกาหรือข้อกฏหมายแต่เป็นหน้าที่ที่บริษัทซึ่งคุณทำประกันจะไปทำการตกลง

          9. อย่าคิดหนีในกรณีที่ขับรถชนคน ให้ช่วยเหลือคนเจ็บให้เต็มที่ และถ่ายรูปหลักฐานที่เกิดเหตุไว้ต่อสู้คดี เพราะศาลจะพิจารณาจากความมีน้ำใจที่คุณช่วยเหลือผู้อื่น บางทีโทษทางอาญาอาจเหลือแค่การรอลงอาญา และตกลงค่าเสียหายกันตามสมควรแต่ถ้าคุณหนีจะติดคุกทันที

          10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150mg% หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่

พรบ2ฉบับเคลมอย่างไร

🚕รถบางคันมี พ.ร.บ. 2ฉบับ อาจจะซื้อโดยไม่รู้ว่ามี คิดว่าหาย หรือ ซื้อไว้แบบอาร์ตๆไม่เหมือนใคร (ปกติจะมีคันละฉบับแค่นั้นล่ะ  หนักไปกว่า คือไม่มีเลย )

ส่วนตัวเคยเจอ  มี3ฉบับ ซื้อรถมือสองมา ติดมากับรถ ตอนออกรถซื้ออีก1 พอจะต่อภาษี ไปซื้ออีก1 เอาแบบมั่นใจ 3เท่ากันไปเลย 555

🚙พวกเรารู้กันแล้วว่า...
 พ.ร.บ.ไว้เคลมคน
ถ้ามีหลายฉบับแบบนี้ เวลาเกิดเหตุจะเคลมยังไง?

🚗คิดง่ายๆนะครับ...
ประกันภัยเราซื้อความคุ้มครอง ถ้ามีความคุ้มครองภายในระยะเวลาที่ระบุในกรมธรรม์ เคลมได้หมดคครับ

🏥แต่...เคลมได้ทีละฉบับ เบิกตามจริง ที่รักษา วงเงินไม่พอ ค่อยไปเบิกอีกกรมธรรม์

♿️รักษาพยาบาลเบิกได้80,000

ยกเว้น....ถ้าเสียชีวิต
เบิกได้ทุกกรมธรรม์ ตอนนี้เพิ่มความคุ้มครองมากขึ้น ถึง300,000บาท

ไม่ต้องพิสูจน์อะไร  ว่าเป็นใคร? จ่ายเท่ากันหมด‼️

แค่รู้ว่าคือผู้ประสบภัย หมายถึง ประสบเหตุจากรถคันที่มีพ.ร.บ.
เคลมได้หมด

มี พ.ร.บ.คือดี ถ้ามีมากกว่า 1 คือดีมาก

️แต่วันนี้ขอแค่ให้รถทุกคันมี แค่นั้นพอ...
และถ้าคุณรู้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองมากมายขนาดนี้ ขับรถก็อุ่นใจ เดินทางก็เบาใจ

🚓เหตุการณ์ชนแล้วหนีจะหายไป...
ทุกคนมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง

มาร่วมสนับสนุนให้รถทุกคันต้องมีประกันภัยกันครับ

คำพิพากษาค่าสินไหมดแทน

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เขียนโดย  Vakin Youngchoay มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามคว...