ศึกษากฎหมายเมื่อมีอุบัติเหตุ

ศึกษากฎหมายเมื่อมีอุบัติเหตุ

กฎหมายบอกอะไร

    1. บังคับใช้ ให้เคารพกฎหมาย
 2.ผู้ใช้รถใช้ถนน ต้องปฎิบัติตามกฎจราจรที่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
 3.หากไม่ปฎิบัติตามทำให้เกิดอุบัติเหตุจราจรขึ้น
จะต้องพิจารณาความผิด ซึ่งพิจารณาตามกฎหมายที่บังคับใช้ ดังนี้
 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
 ประมวลกฎหมายอาญา 
 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  ความผิดที่ว่ามีอะไรบ้าง
 ขับรถชนคนแล้วหลบหนีปล่อยคนเจ็บเดียวดาย

       ผมขับรถเก๋งชนผู้เคราะห์ร้ายคนหนึ่งตอนนั้นผมตกใจ คิดอะไรไม่ออก ขับรถหนีออกมากลับบ้าน ปล่อยให้พลเมืองดีจัดการนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลคนเดียว ต่อมาผมได้ติดต่อที่สถานีตำรวจขอมอบตัวเพราะนึกได้ว่ารถเก๋งผมมีประกันอยู่ และแสดงความรับผิดชอบค่าเสียหาย กรณีของผมมีความผิดหรือไม่ และต้องรับผิดอย่างไรบ้างครับ ?


         แม้ว่าคุณได้มอบตัวกับตำรวจ พร้อมกับแจ้งว่ารถของคุณมีประกันภัย และบริษัทประกันยินดีรับผิดชอบค่าเสียหายทุกอย่าง แต่คุณยังมีความผิดฐานประมาทตามกฎหมายอาญา ซึ่งต้องพิจารณาตามเจตนา ว่าคุณจงใจขับรถชนเขาหรือไม่ อีกทั้งกฎหมายกำหนดให้คุณต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามพรบ.บุคคลที่ 3 กับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย
 ถ้าพิสูจน์ว่าคุณผิดเต็มประตู เช่น ขับรถฝ่าไฟแดงชนคนกำลังข้ามถนนทางม้าลาย คุณจะมีความผิดตามพ.รบ.จราจรทางบก แล้วคุณยังหลบหนีให้คิดว่าคุณเป็นผู้กระทำผิดไว้ก่อน ตามกฎหมายนี้

   
ค่าเสียหายเรียกร้องจากที่ไหน?  

ค่าเสียหายแบ่งเป็น 2 ส่วน 
 อันดับแรก
      กองทุนทดแทนรับผิดชอบจ่ายค่าทดแทนในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ. บุคคลที่ 3
 อันดับต่อมา
      บริษัทประกันรถยนต์ ซึ่งเจ้าของรถได้ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองไว้ต่างหาก ซึ่งความคุ้มครองนี้คุ้มครองถึงเจ้าของรถยนต์และผู้เสียหายเท่านั้น โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าเสียหาย หรือที่เรียกกันว่าค่าสินไหมทดแทนไม่เกินวงเงินที่ได้ทำประกันภัย

   ถ้าผู้เสียหายต้องการค่าเสียหายมากกว่าวงเงินที่เอาประกัน ต้องพึ่งอำนาจศาลฟ้องร้องกันตามกฎหมายแพ่งฯ ใช้ข้อกฎหมายเรื่อง ละเมิด บังคับเอาได้




กองทุนทดแทนจ่ายค่าเสียหายก่อนทำอย่างไร
       นายลิงโลดกำลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย ได้ถูกรถยนต์คันหนึ่ง วิ่งมาด้วยความเร็วสูง จึงไม่สามารถหยุดรถได้ทัน เป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าว ชนนายลิงโลดได้รับบาดเจ็บ และผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าว ได้ขับรถหลบหนีไป นายลิงโลดได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นผู้ขับขี่ และใครเป็นเจ้าของรถ นายลิงโลด จึงยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ของกรมการประกันภัย ตามใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาลจำนวน 32,000 บาท ดังนี้ กองทุนจะสามารถจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือไม่ และเมื่อจ่ายแล้ว กองทุนจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
 กรณีตามปัญหาที่เกิดขึ้น ถือว่ามีความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย และรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นหลบหนีไป หรือไม่อาจทราบได้ว่า รถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย และเป็นกรณีที่ผู้ประสบภัย ไม่อาจขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากเจ้าของรถได้ 
 เมื่อผู้ประสบภัยได้ยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน กองทุนก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 
 กองทุนได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยแล้ว ย่อมเกิดสิทธิแก่กองทุนที่จะไล่เบี้ย เอาจากผู้ขับขี่รถคันดังกล่าวได้ จากนั้นเข้ารับช่วงสิทธิของนายลิงโลด ไปไล่เบี้ยเอากับผู้ขับขี่รถคันดังกล่าว เท่าจำนวนที่จ่ายไป โดยอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 226 มาตรา 227 และมาตรา 229 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 หมายเหตุ กองทุนทดแทนจ่ายค่าเสียหายก่อนแล้วรถมีประกัน
           แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่า รถคันดังกล่าว ได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย กองทุนก็สามารถจะรับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัย ไล่เบี้ยเอากับบริษัทประกันภัยได้ โดยอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 226 มาตรา 227 และมาตรา 229 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ค่าสินไหมทดแทนชดใช้อย่างไร?  

 รถยนต์ของจิ๊บถูกขโมย ซึ่งรถยนต์ของจิ๊บได้ทำประกันภัยประเภท 1 เอาไว้ ต่อมาตำรวจได้จับกุมคนขโมยได้พร้อมกับรถยนต์ ปรากฎว่ารถยนต์ได้รับความเสียหาย มีรอยถูกชน และสีของรถที่ขโมยได้พ่นทับเป็นสีเขียวจากเดิมสีแดง แต่บริษัทประกันภัยตกลงจะซ่อมรถยนต์เฉพาะที่มีรอยถูกชน และเปลี่ยนอะไหล่ที่ใช้ไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้เปลี่ยนสีกลับมาเป็นสีแดงดังเดิม ค่าสินไหมทดแทนที่จิ๊บจะได้จากบริษัทประกันภัยนั้นมีขอบเขตเท่าใด?

  ตามหลักการ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยทั่วไปแล้วสามารถกระทำได้ 4 วิธีคือ  
หลักการชดใช้ค่าเสียหาย

  1.ชดใช้เป็นเงินสด ถ้าตกลงยอมรับเป็นเงินสด
 2.ซ่อมแซม หากเกิดความเสียหายบางส่วน และสามารถซ่อมแซมกลับคืนสภาพเดิมได้
 3.จัดหาทรัพย์สินมาทดแทน ถ้าไม่สามารถซ่อมแซมได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ใน ชนิด ประเภท ปริมาณเดียวกัน
 4.ทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม แต่ถ้าสภาพใหม่มีราคาสูงขึ้น สามารถตกลงใช้เป็นเงินสดได้
    กรณีที่สอบถามมาเป็นวิธีที่ 4 คือ การกลับสู่สภาพเดิม การชดใช้โดยวิธีนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะรถยนต์มีขายโดยทั่วไป จึงใช้วิธีจัดการรถยนต์ใหม่มาแทน กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จึงไม่ได้กำหนดไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องยึดถือตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่า
1. ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร 
2. ให้ตีความตามประสงค์โดยพิจารณาถึงประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา


  ดังนั้น   
จึงมีความเห็นว่า บริษัทจำต้องเปลี่ยนสีรถยนต์ให้เป็นสีเดิม แต่ถ้ารถยนต์ใช้งานมานาน สีเก่ามาก ถ้าพ่นสีใหม่จะทำให้รถยนต์มีมูลค่าสูงขึ้น ก็ให้มีการตีราคาและหักส่วนที่มีราคาเพิ่มขึ้นออกไป แล้วชดใช้เป็นเงินแทนจะเป็นการดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นการรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ยั่งยืนต่อไป

ให้เพื่อนยืมรถ ขับรถประมาท ประกันจ่ายหรือไม่  
   บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ หรือไม่

นายสมชายเป็นเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ซึ่งได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้ 2 ฉบับคือ 
1.กรมธรรม์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยประเภทหนึ่ง 
2.บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งไว้อีกด้วย

มีรายละเอียดความคุ้มครอง ระบุถึงความรับผิดต่อความบาดเจ็บ หรือมรณะของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อผู้โดยสาร 
ซึ่งตามกรมธรรม์ได้ระบุถึงส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ในวงเงินสูงถึง 100,000 บาท 
วันหนึ่ง นายสมชายได้ยินยอมให้นายสุพจน์ เพื่อนสนิทขับรถยนต์ของตนเอง โดยที่นายสมชายนั่งไปด้วย
แต่นายสุพจน์ขับรถด้วยความคึกคะนอง และประมาทจนเป็นเหตุให้รถยนต์พลิกคว่ำ 
ทั้งนายสมชายและนายสุพจน์ ได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย 
มีค่ารักษาพยาบาลในส่วนของนายสมชายเท่ากับ 90,000 บาท และของนายสุพจน์เท่ากับ 100,000 บาท 

  พิจารณาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แบ่งได้ 2 กรณี คือ

1. หากพิจารณารายละเอียดความคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 
นายสมชายจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย จำนวน 80,000 บาท 
ขณะที่นายสุพจน์ ซึ่งขณะเมื่อเกิดอุบัติเหตุเป็นผู้ขับขี่ ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จนทำให้นายสมชายได้รับบาดเจ็บ ดังนั้น จำนวนเงินเอาประกันภัย จึงต้องถูกลดลงมาเป็นจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคือ 15,000 บาท เท่านั้น


2. ถ้าพิจารณาถึงความคุ้มครอง ส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ คือ ประกันภัย ประเภทหนึ่ง 
นายสมชายจะไม่ได้รับความคุ้มครอง จากการประกันภัยส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ. แม้ตนเองจะเป็นผู้ประสบภัยก็ตาม เพราะเข้าสู่ข้อยกเว้น2.9.1 ที่ยกเว้นไม่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลในครอบครัว ที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัย
ขณะที่นายสุพจน์ซึ่งเป็นผู้ขับขี่ขณะนั้น เป็นผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงถือเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จึงทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามข้อ 2.9.1 ด้วยเช่นกัน

  สรุป    
 นายสมชายและนายสุพจน์ สามารถสรุปลงได้ด้วยความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 
 ซึ่งนายสมชาย จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท 
 ส่วนนายสุพจน์ ได้รับการชดใช้ไปเพียง 15,000 บาท เพราะเป็นผู้ขับขี่ที่มีความประมาทนั่นเอง

  ข้อควรจำ
  อย่าหนี จะมีความผิด เมื่อเกิดอุบัติเหตุควรเจรจา 
 การตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล ให้กับผู้ประสบอุบัติเหตุจราจร มิได้ทำให้ผู้กระทำให้เกิดอุบัติเหตุพ้นจากความผิดทางอาญาไปได้

   
กฎหมายใฃ้บ่อย  
 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
กองทุนทดแทนรับผิดชอบจ่ายค่าทดแทนในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากรถเป็นอันดับแรก
หน้าที่ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองฯ
 จัดทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ติดเครื่องหมายแสดงการทำประกันภัยไว้ให้ถูกต้อง


  พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องปฏิบัติตามกฎจราจร ซึ่งบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 จึงจะถือได้ว่าใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่หากไม่ได้ปฏิบัติตามกฎจราจร ก็อาจถือได้ว่ามิได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัย
มาตรา 78 วรรค 2 " ผู้ขับขี่รถที่หลบหนีไปให้สัณนิษฐานว่า เป็นผู้กระทำผิด"
มาตรา 140 วรรค 5 " กรณีที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่ง แต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ให้สันนิษฐานว่า เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถ เป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่
หน้าที่ตาม พ.ร.บ. จราจรฯ
  ขับรถตามกฎจราจร
  ปฏิบัติตามเครื่องหมายและสัญญาณจราจร
  ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร

  ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิด เมื่อได้
กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
  อย่างไรจึงถือว่าประมาท?
  ผู้กระทำมิได้กระทำโดยเจตนา
  กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
  ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง แต่ไม่เพียงพอ
  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสีย
หายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจ
ฉัยเป็นประการอื่น
  ความเสียหายจากละเมิดต้องจ่ายค่าทดแทน
  ความเสียหายที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต
  ความเสียหายที่เป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน
  ความเสียหายที่เป็นอันตรายต่อชื่อเสียง
  ความเสียหายเมื่อมิได้สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ
  ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / กรมการประกันภัย/ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำพิพากษาค่าสินไหมดแทน

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เขียนโดย  Vakin Youngchoay มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามคว...