ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

การเรียกค่าขาดประโยชนืจากการใช้รถไม่มีแบบฟอร์มที่แน่นอนผู้ร้องสามารถเขียนข้อเรียกร้องเองได้เลยดังตัวอย่างนี้เป็นแนวทาง
กรณีเกิดเหตุ  รถคู่กรณีมีประกันภัย ประกันภัยคู่กรณีขอเจรจา ว่าจะรับผิดชอบค่าซ่อมให้ และส่งสัญญาประณีประนอม แบบนี้ให้ลงชื่อ แบบนี้ถ้าลงชื่อไปแล้ว จะไม่สามารถเรียกร้องค่าขาดการใช้รถได้ในภายหลัง และค่าซ่อม ที่ตกลงกันไว้อาจได้ไม่ครบ เพราะเขาจะเขียนขึ้นเองภายหลัง หากเกิดลักษณะนี้ ต้องให้ บริษัทประกันภัยเขียนข้อความโดยไม่มีที่ว่างที่จะเพิ่มเติมภายหลังได้
และหากฟ้อง คปภ.หรือเรียกค่าเสียหายอะไรอีกไม่ได้เลย
ไม่ว่าเป็นสัญญาอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเป็นลักษณะนี้อย่าลงชื่อ อ่านให้ละเอียดเสียก่อน สำหรับเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กับบริษัทประกันภัย อย่างไรก็เรียกได้อยู่แล้วครับ เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีการเรียกร้องเท่านั้น ครับ ประกันภัยมีทุนสำรองเยอะ แต่การเรียกค่าเสียหายก็ต้องเรียกตามจริง คือค่าเสียหายเท่าไหร่ก็เรียกได้เท่านั้น หากบริษัทประกันภัยจ่ายช้า โดยนับแตั้งได้รับจดหมายจากผู้ผู้หาย ถ้ารับแล้วไม่จ่าย เริ่มคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีได้เลย  เมื่อก่อน กฎหมายให้ร้อยละ 7 ต่อปี ปัจจุบันแก้เป็นร้อยละ 15 ต่อปี  ยิ่งจ่ายช้าเราได้ดอกเบี้ยเยอะ ครับ
การแจ้งให้บริษัทจ่าย ต้องมีหลักฐาน นะครับ เจราจาปากเปล่า โทรศัพท์ตกลงกัน แบบนี้ ยังเรียกดอกเบี้ยลำบาก    หลักการเรียกดอกเบี้ยคือ  ลูกหนี้ผิดนัด ทวงแล้วไม่จ่ายประมาณนั้น  บริษัทประกันภัยถือเป็นลูกหนี้ทันที ที่รถคันเอาประกันทำความเสียหายกับรถเรา แต่เราต้องมีจดหมายทวงก่อน ไม่ทวงเขาก็ไม่จ่ายประมาณนั้น ครับ
กฎหมายประกันภัย ดีตรงที่ราฎษรทำคดีได้เอง ครับ ฟ้องเองได้
ตัวอย่างการเขียนหนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
ตัวอย่างการเขียนหนังสือเรียกร้องค่าขาดการใช้รถยนต์  แบบแนวทางครับ ถ้าจำนวนเงินเยอะ แนะนำให้ผู้มีความรุ้ทำให้จะดีกว่า เพราะ ประกันคงไม่จ่ายง่าย ๆ ต้องมีมาตราการบังคับ อาจต้อง ถึงสุดท้ายคือ การฟ้องคุณอนุญาโตตุลาการ  แต่ถ้าเล็ก ๆ น้อย ก็ ขอได้เลย ประกันจ่ายให้อยู่แล้ว วันละ 300 บาท
ขั้นตอนจะมี 3 ช่วง  ช่วงแรก  เขียนถึงบริษัท ถ้าเงินไม่เยอะ ตกลงกันได้ ก็รับเข็คเงินสด ถ้าเงินเยอะ จะถูกดองเรื่องหรือดึงเรื่องให้ช้า หรือหาเหตุอ้างเหตุที่ไม่จ่าย ขึ้นตอนนี้ต้องร้องเรียน คปภ.เพื่อไกล่เกลี่ย ถ้าตกลงได้ก็จบ ถ้าตกลงไม่ได้ ก็ต้องยื่นข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการ เพื่อเป็นผู้ตัดสิน  จะมี 3 ขั้น
แต่ส่วนใหญ่ประกันจะดึงเรื่องจ่ายช้า เพื่อให้ผู้เสียหายตกลงตามที่บริษัทเสนอ
ก็เป็นเรื่องปกติในทางธุรกิจ ส่วนการปฎิบัติต้องเตรียมหลักฐานค่าเสียหาย  แบะคำนวนค่าเสียหาย  ให้เป็นยอดเงินที่แน่นอน   ค่าเสียหายที่ไม่มีหลักฐาน จะเหลือประมาณครึ่งเดียว  เช่น ค่ารถแท๊กชี่ ถ้าไม่มีใบเสร็จ จะได้  300  บาท ถ้ามีใบเสร็จก็ได้ตามใบเสร็จ แค่อาจต้องสู้ถึง  คปถ.
ส่วนค่าเสื้อมราคา ปกคิยริษัทตะไม่จ่าย แต่ถ้าถึงขั้นอนุญาโตคุลาการ จะสั่งให้จ่าย เพราะ แม้จะให้ดีอย่างไร ก็ไม่เหมือนเดิม 100 %   ถ้าให้ท่ารชื้อรถ รถที่เคยถูกชนและข่อมมาแล้ว กับรถที่ไม่เคยชนไม่เคยช่อมมาก่อน ท่านจะชื้อรถคันไหน  ตรงนี้คือค่าเสื่อมราคา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำพิพากษาค่าสินไหมดแทน

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เขียนโดย  Vakin Youngchoay มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามคว...