ราคาภาษีรถยนต์
อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522
1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
2. จัดเก็บเป็นรายคัน
3. จัดเก็บตามน้ำหนัก
1.จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยมีอัตรา ดังนี้
1.1 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท 1.2 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท 1.3 เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท ทั้งนี้ หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ ให้จัดเก็บในอัตราสองเท่า
นอกจากนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
ปีที่ 6 ร้อยละ 10
ปีที่ 7 ร้อยละ 20
ปีที่ 8 ร้อยละ 30
ปีที่ 9 ร้อยละ 40
ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50
ตัวอย่าง
การคำนวณภาษีรถยนต์ กรณีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
Toyota Camry เครื่องยนต์ 2,500 cc จดทะเบียน มาแล้ว 7 ปี (คำนวนภาษีปีที่ 8)
วิธีคิด
1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600x0.5 = 300 บาท
2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
3. เกิน 1800 cc ละ 4 บาท = (2,500 - 1,800) x 4 = 700 x 4.00 = 2,800 บาท
รวมค่าภาษี 300+1,800+2,800 บาท = 4,900 บาท
ค่าภาษี ในระหว่าง ปีที่ 1 จนถึงปีที่ 5 = 4,900 บาท
ปีที่ 8 ได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
= 4,900 บาท*30% = 1,470 บาท
= 4,900-1,470 = 3,430 บาท
ค่าภาษีที่ต้องชะำระในปีที่ 8 = 3,430 บาท
___________________________________________
2. จัดเก็บเป็นรายคัน
รถจักรยานยนต์
2.1 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
2.2 รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
2.3 รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
2.4 รถพ่วงนอกจากข้อ 2.3 คันละ 100 บาท
2.5 รถบดถนน คันละ 200 บาท
2.6 รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
________________________________________________________
3. จัดเก็บตามน้ำหนัก
3.1 รถบรรทุกส่วนบุคคล(รถกะบะ)
3.2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้)
3.3 รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ
3.4 รถยนต์รับจ้าง
3.5 รถลากจูง
3.6 รถแทรกเตอร์ที่มิได้ ใช้ในการเกษตร
ดูจากตาราง
ตัวอย่าง
การคำนวณค่าภาษี กรณีรรถบรรทุกส่วนบุคคล(รถกะบะ)
น้ำหนักรถ 1,450 กิโลกรัม
ตามตรางอยู่ที่ช่วง 1,251-1,500
ดังนั้นค่าภาษีที่ต้องชำระ = 900 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น