ความสำคัญของ พรบ

พ.ร.บ. = พระราชบัญญัติ
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

หรือชื่อเต็มๆ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกต้องทำและต้องมีไว้เป็นขั้นพื้นฐาน (ซึ่งจะแตกต่างจากประกันภาคสมัครใจ) ก็เพื่อว่าต้องการให้คนในรถทุกคันหรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนเป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้จัดทำ พ.ร.บ. ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในรถหรือนอกรถหรือบุคคลที่ใช้ถนน เดินถนน ถูกเฉี่ยวชน ผู้ที่ประสบภัยจากรถได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ใดก็ตามที่เกี่ยวกับรถ มั่นใจได้ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากเงินกองกลางอย่างทั้นท่วงที

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ

ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน

1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม 35,000 บาท
(1,2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น)
คำถาม
มีนักเรียนสองคนขับมอเตอร์ไซค์คู่ใจซึ่งไม่มี พรบ.ขับขี่รถไปด้วยความคึกคะนองแล้วประสบอุบัติเหตุชนกับรถกระบะซึ่งได้ทำ พรบ.และประกันภาคสมัครใจไว้กับบริษัทใจดีประกันภัย จากเหตุการณ์ดังกล่าวนักเรียนเป็นเหตุให้นักเรียนซึ่งเป็นผู้ขับขี่และซ้อนท้ายเสียชีวิตทันที จากการสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่สรุปว่ามอเตอร์ไซค์เป็นฝ่ายประมาท     อยากทราบว่า พรบ จะชอเชยหรือไม่อย่างไร
ตอบตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำถามนะครับ คดีนี้ มอไซด์เป็นฝ่ายผิด และไม่มี พรบ.
1. คนขับ มอไซด์ เป็นฝ่ายผิด แต่รถไม่มี พรบ. ทายาทรียกค่าเสียหายจาก กองทุนฯ ได้ 35,000 บาท
2. คนซ้อนแม้ไม่ผิด ก็เรียกจากกองทุนฯ ได้เพียง 35,000 บาท หาก รถมอร์ไซด์ มี พรบ.จะได้ 300,000 บาท
3. เมื่อกองทุนจ่ายให้ เงินกับทายาทผู้ตายทั้งสองคน จำนวน 70,000 บาท แล้ว ก็จะมาเรียกคืนกับเจ้าของรถ มอไซด์ที่ไม่ทำ พรบ.ต่อไป หาก เจ้าของรถกับผู้ขับขี่เป็นคน ๆ เดียงกัน ก็จะไปเรียกกับกองมรดกของผู้ขับขี่ ส่วนจะได้หรือไม่ได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ก็ไปฟ้องทางแพ่งกับทายาทผู้ขับขี่ต่อไป
4. ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถ กะบะที่ มี ป.1 เมื่อประกันฝ่ายรถกะบะซ่อมให้แล้ว ประกันก็จะมาฟ้องเรียกค่าเสียหายกับ ทายาท ที่รับมรดกของผู้ตายที่เป็นผู้ขับขี่ต่อไป

ตามที่บอกไว้ ภาษีขาดได้ แต่ พรบ.ขาดไม่ได้เพราะจำเป็นมาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุแบบนี้ ถ้ามี พรบ.คนซ้อน เรียกสินไหมทดแทนจาก พรบ.ได้ 300,000 บาท เพราะคนซ้อนไม่มีโอกาสเป็นผู้ประมาทได้

ผู้มีหน้าที่ จัดให้รถยนต์ที่ใช่ขับขี่ต้องทำ พรบ. มี 2 คน ดังนี้ 1.เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครอง 2.ผู้ขับขี่ ดังนั้นหากจะยืมรถคนอื่นมาขับต้องดูให้ดีเสียก่อนว่า รถที่ขอยืมมานั้น ได้จัดให้มี พรบ.หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำพิพากษาค่าสินไหมดแทน

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เขียนโดย  Vakin Youngchoay มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามคว...