การเรียกร้องค่าสินไหมจากอุบัติเหตุ

การเรียกร้องสินไหมนั้น ไม่มีแบบฟอร์มที่ตายตัวดังนั้นผู้ร้องสามารถเขียนขึ้นมาตามความเป็นจริงได้เอง 
ตัวอย่างการเรียกร้องค่าสินไหมจากอุบัติเหตุ
สมมุติเพื่อนได้รับอุบติเหตุขี่รถจักรยานยนต์แล้วถูกรถยนต์ชน ทางประกันของคู่กรณียอมรับว่าเป็นความผิดของลูกค้าเขา รถจักรยานยนต์ที่เพื่อนผมขับตอนถูกชนเป็นของพ่อเขา พ่อเขาแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว
เพื่อนผมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง  ค่ารักษาก็ใช้ส่วนของ พรบ. ( 80,000 บาท)ไปแล้ว ทางบริษัทประกันมีวงเงินให้เคลมได้ 250,000 บาท คุยกับตัวแทนประกันแล้วเขาบอกว่า ทางประกันจะจ่ายค่าซ่อมรถ รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด โดยรวมแล้วไม่เกิน 250,000 บาท เมื่อถามถึงค่าสินไหมค่าทำขวัญเขาให้คำตอบว่า ต้องให้แพทย์ผู้รักษาลงความเห็นว่า ผู้เสียหายทำงานไมได้นานกี่เดือนแล้วคำนวนออกมาเป็นค่าชดเชยที่ทำงานไม่ได้ โดยค่าชดเชยนี่ก็รวมใน 250,000 บาทด้วย
อยากทราบว่า ผู้เสียหายจะเรียกร้องอะไรเพิ่มจาก คู่กรณีเพิ่มได้ไหมครับ นอกเหนือจากค่าชดเชยที่แพทย์ลงความเห็น ผมถามผู้ที่ทำงานในวงการประกันเขาบอกว่าแพทย์ลงความเห็นอย่างมาก็ 3 เดือน แต่ดูอาการแล้ว กระดูกตรงเหนือเข่าแตกละเอียดน่าจะต้องพักไม่ต่ำกว่าหกเดือน ทางคู่กรณีท่านก็ไม่กะจะควักสักบาทเลยให้ทุกอย่างอยู่ใน 250,000 หมดเลย  / เป็นคำถามจากเวป ครับ    สมมุติว่าเขามาถามว่าเหตุการณ์เป็นแบบนี้   ท่านจะแนะนำเขาอย่างไร
คำตอบดังนี้ครับ
เบื้องต้นคิดเอาว่า น่าจะ พักรักษาตัว 6 เดือน  แต่ ประกันภัย ฝ่ายสินไหม ย่อมต้องเขี้ยวไว้ก่อน  อ้างอิง หลักฐานทางกฏหมาย คือ  ประจำวัน และ ใบรับรองแพทย์  
หากใบรับรองแพทย์  ลงแค่  3 เดือน  ย่อม มีค่าขาดประโยชน์  ค่าขาดรายได้  ประเมิน ไว้เพียง 90 วัน  และค่าอนามัยภายภาคหน้า อีกจำนวนหนึ่ง โดยประเมินจาก หน้าที่การงาน    หากคนเจ้บ มี ใบรับรองเงินเดือน เอกรายได้ได้อื่นเพิ่มเติม  จึงจะได้สิทธิ์พิจารณา ค่าขาดประโยชน์  สูงกว่า 300 ต่อวัน  
#ดังนั้นหากเคสนี้ 
#ใบรับรองแพทย์ ระบุ   90 วัน  ค่าเแรงงานขั้นต่ำ  300 x 90 =  27,000.-
#ค่าอนามัยภายภาคหน้า ค่าเดินทางพบแพทย์นัดตรวจ ค่ายารักษาเพิ่มเติมตามแพทย์นัด  ตามแต่ตำแหน่งหน้าที่การงาน  ประเมิน เขี้ยวๆไว้ก่อน(ไม่มีหลักฐานหน้าที่การงานมาแสดง)  ให้เพิ่มอีก  เดือน ละ 1,000 - 2,000.- บาท   สูงสุด 2,000 x 3 เดือน = 6,000.- บาท
#ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ  เนื่องจากแจ้งว่ารถเป็นของพ่อ  อาจจะต้องลำดับว่าพ่อเป็นคนใช้รถประจำ  หรือ คนเจ็บเป็นคนใช้รถประจำ  และปกติ รถ จยย. ใช้ทำอะไร ใช้ขับขี่ไปทำงาน ระยะทาง ต่อวันกี่ กม.  แต่หากเป็นรถที่ ใช้ขับขี่ส่งของเป็นประจำ หรือ เป็นรถ วินมอเตอร์ไซด์  จะมีค่าขาดประโยชน์ สูงกว่า  หากเป็นรถทั่วไป  ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ นับจากวันเกิดเหตุ จนเจรจายุติการเรียกร้องได้ หรือ รถซ่อมเสร็จและได้รับคืนกลับมาใช้ขับขี่แล้ว   เป็นระยะเวลากี่วัน   ฝ่ายสินไหมจะประเมิณให้ จยย. ไม่เกิน วัน ละ 150 - 300 ต่อวัน ครับ (นอกจากจะเป็น ดูคาติ)  หาก สมมติ ว่า ซ่อมและได้รับรถกลับมาใช้งานปกติแล้ว  เป็นระยะเวลา  40 วัน  ก็มีค่าขาดประโยนชน์จากการใช้รถ ประมาณ  150 x 40 = 6,000 บาท
#รวมค่าสินไหมทดแทน ที่ประเมิณตามเกณฑ์พื้นฐาน กรณี ไม่มีเอกสารแสดงหน้าที่การงาน (ที่รายได้สูง)  คือ  ค่าขาดประโยชน์ จากการหยุดงานพักรักษาตัว ค่าอนามัยภายภาคหน้า ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ รวมเคสนี้  พึงได้รับ    27,000 + 6,000 + 6,000 =  39,000.- บาท  ครับ 
ที่กล่าวมายังไม่รวม  ค่ารักษาพยาบาล ที่ โรงพยาบาลใช้สิทธิ์เบิกตรงกับประกัน  แทนคนเจ็บ ไปเต็มจำนวน 80,000 บาทแล้วนะครับ  เคสนี้ จบ 250,000 ถือว่า เรียกร้องได้สูงแล้ว ครับ
#ข้อสงสัยคือ ทำไม ประกันชดใช้สูงครับ   เป็นไปได้ไม๊ว่า 
1.บาดเจ็บมากกว่าที่เข่าหรือไม่  จนทำให้ความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ด้อยประสิทธิภาพลงหรือไม่  หากเป็นดังนั้น ต้องมีใบรับรองแพทย์ วินิจฉัยว่า กลายเป็นบุคคลทุพลลภาพ ถาวร หรือชั่วคราว  หรือไม่อย่างไร  
#เพราะหากมีผลวินิจฉัยจากแพทย์ ยืนยืนให้เป็นบุคคลทุพลภาพ  จะได้สิทธิ์ ค่าสินไหมทดแทน จากส่วน ของ พ.ร.บ.   300,000  บาท ค่าชดเชยรายได้ จาก พ.ร.บ. 20 วัน วันละ 200  รวม   304,000.-  โดยหากมีค่ารักษาพยาบาลเท่าไรที่ โรงพยาบาลตั้งเบิกมา (ปกติ เบิกแค่เบื้องต้น 30,000 เพราะคนขับขี่เจ็บ ยังไม่รู้ถูกผิดในเบื้องต้น)  แล้วประกัน พิจารณาจ่าย เหมารวม  แค่ 250,000 บาท  
กลายเป็นว่า  ประกันจ่ายน้อยกว่า หลักการพิจารณาสินไหมเบื้องต้นโดยไม่ต้องพิจารณาฐานณุรูป ครับ   เพราะ หากผู้เสียหาย เสียชีวิต อวัยวะ หรือ ทุพลลภาพ ถาวร / ชั่วคราว อย่างใดอย่างหนึ่ง ประกันภัย ภาคสมัครใจ ประเภท 1,2,3,2+,3+ ประเภท 5  ต้อง ชดใช้สินไหมขั้นต่ำส่วนเกินจาก พ.ร.บ.จ่าย ไม่ต่ำกว่า  100,000  บาท   หากคู่กรณีไม่ยินยอมความจึงใช้หลักพิจารณาฐานณุรูปมาเพิ่มเติม 
#เท่ากับ หากเคสที่เล่ามา กลายเป็น สูญเสียอวัยวะ หรือ พิการ โดยมีหลักฐานผลชันสูตร ใบวินิจฉัยจากแพทย์ ยืนยันว่ากลายเป็นคนพิการ  เคสนี้  พ.ร.บ. จ่าย วงเงิน รวมค่ารักษาที่โรงบาลเบิก 30,000 หรือ เต็ม 80,000  ที่เหลือมอบให้คนเจ็บ  รวมยอด 304,000 บาท   และต้องได้จาก ประกันภาคสมัครใจอีก  100,000  ขั้นต่ำ ครับ   นี่คือเรื่อง ค่าสินไหมทดแทนค่าอนามัยนะครับ     ยังไม่รวม ค่าซ่อมรถ จยย. ครับ   
#เท่ากับหากเป็นบุคคลทุพลลภาพขึ้นมา  ต้องได้ขั้นต่ำ  304,000  และยังใช้สิทธิ์เรียกร้องเพิ่มเติมได้อีก ครับ  และยังไม่เกี่ยวกับค่าซ่อมรถ และค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอีกครับ
 หากท่านได้สามารถทำเองได้เรายินดีรับทำเรื่องให้จากทนายผู้มีความชำนาญ
รับปรึกษาการเรียกร้องสินไหม โทร 0837536647










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำพิพากษาค่าสินไหมดแทน

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เขียนโดย  Vakin Youngchoay มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามคว...