การเรียกร้องค่าสินไหมจากอุบัติเหตุ

การเรียกร้องสินไหมนั้น ไม่มีแบบฟอร์มที่ตายตัวดังนั้นผู้ร้องสามารถเขียนขึ้นมาตามความเป็นจริงได้เอง 
ตัวอย่างการเรียกร้องค่าสินไหมจากอุบัติเหตุ
สมมุติเพื่อนได้รับอุบติเหตุขี่รถจักรยานยนต์แล้วถูกรถยนต์ชน ทางประกันของคู่กรณียอมรับว่าเป็นความผิดของลูกค้าเขา รถจักรยานยนต์ที่เพื่อนผมขับตอนถูกชนเป็นของพ่อเขา พ่อเขาแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว
เพื่อนผมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง  ค่ารักษาก็ใช้ส่วนของ พรบ. ( 80,000 บาท)ไปแล้ว ทางบริษัทประกันมีวงเงินให้เคลมได้ 250,000 บาท คุยกับตัวแทนประกันแล้วเขาบอกว่า ทางประกันจะจ่ายค่าซ่อมรถ รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด โดยรวมแล้วไม่เกิน 250,000 บาท เมื่อถามถึงค่าสินไหมค่าทำขวัญเขาให้คำตอบว่า ต้องให้แพทย์ผู้รักษาลงความเห็นว่า ผู้เสียหายทำงานไมได้นานกี่เดือนแล้วคำนวนออกมาเป็นค่าชดเชยที่ทำงานไม่ได้ โดยค่าชดเชยนี่ก็รวมใน 250,000 บาทด้วย
อยากทราบว่า ผู้เสียหายจะเรียกร้องอะไรเพิ่มจาก คู่กรณีเพิ่มได้ไหมครับ นอกเหนือจากค่าชดเชยที่แพทย์ลงความเห็น ผมถามผู้ที่ทำงานในวงการประกันเขาบอกว่าแพทย์ลงความเห็นอย่างมาก็ 3 เดือน แต่ดูอาการแล้ว กระดูกตรงเหนือเข่าแตกละเอียดน่าจะต้องพักไม่ต่ำกว่าหกเดือน ทางคู่กรณีท่านก็ไม่กะจะควักสักบาทเลยให้ทุกอย่างอยู่ใน 250,000 หมดเลย  / เป็นคำถามจากเวป ครับ    สมมุติว่าเขามาถามว่าเหตุการณ์เป็นแบบนี้   ท่านจะแนะนำเขาอย่างไร
คำตอบดังนี้ครับ
เบื้องต้นคิดเอาว่า น่าจะ พักรักษาตัว 6 เดือน  แต่ ประกันภัย ฝ่ายสินไหม ย่อมต้องเขี้ยวไว้ก่อน  อ้างอิง หลักฐานทางกฏหมาย คือ  ประจำวัน และ ใบรับรองแพทย์  
หากใบรับรองแพทย์  ลงแค่  3 เดือน  ย่อม มีค่าขาดประโยชน์  ค่าขาดรายได้  ประเมิน ไว้เพียง 90 วัน  และค่าอนามัยภายภาคหน้า อีกจำนวนหนึ่ง โดยประเมินจาก หน้าที่การงาน    หากคนเจ้บ มี ใบรับรองเงินเดือน เอกรายได้ได้อื่นเพิ่มเติม  จึงจะได้สิทธิ์พิจารณา ค่าขาดประโยชน์  สูงกว่า 300 ต่อวัน  
#ดังนั้นหากเคสนี้ 
#ใบรับรองแพทย์ ระบุ   90 วัน  ค่าเแรงงานขั้นต่ำ  300 x 90 =  27,000.-
#ค่าอนามัยภายภาคหน้า ค่าเดินทางพบแพทย์นัดตรวจ ค่ายารักษาเพิ่มเติมตามแพทย์นัด  ตามแต่ตำแหน่งหน้าที่การงาน  ประเมิน เขี้ยวๆไว้ก่อน(ไม่มีหลักฐานหน้าที่การงานมาแสดง)  ให้เพิ่มอีก  เดือน ละ 1,000 - 2,000.- บาท   สูงสุด 2,000 x 3 เดือน = 6,000.- บาท
#ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ  เนื่องจากแจ้งว่ารถเป็นของพ่อ  อาจจะต้องลำดับว่าพ่อเป็นคนใช้รถประจำ  หรือ คนเจ็บเป็นคนใช้รถประจำ  และปกติ รถ จยย. ใช้ทำอะไร ใช้ขับขี่ไปทำงาน ระยะทาง ต่อวันกี่ กม.  แต่หากเป็นรถที่ ใช้ขับขี่ส่งของเป็นประจำ หรือ เป็นรถ วินมอเตอร์ไซด์  จะมีค่าขาดประโยชน์ สูงกว่า  หากเป็นรถทั่วไป  ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ นับจากวันเกิดเหตุ จนเจรจายุติการเรียกร้องได้ หรือ รถซ่อมเสร็จและได้รับคืนกลับมาใช้ขับขี่แล้ว   เป็นระยะเวลากี่วัน   ฝ่ายสินไหมจะประเมิณให้ จยย. ไม่เกิน วัน ละ 150 - 300 ต่อวัน ครับ (นอกจากจะเป็น ดูคาติ)  หาก สมมติ ว่า ซ่อมและได้รับรถกลับมาใช้งานปกติแล้ว  เป็นระยะเวลา  40 วัน  ก็มีค่าขาดประโยนชน์จากการใช้รถ ประมาณ  150 x 40 = 6,000 บาท
#รวมค่าสินไหมทดแทน ที่ประเมิณตามเกณฑ์พื้นฐาน กรณี ไม่มีเอกสารแสดงหน้าที่การงาน (ที่รายได้สูง)  คือ  ค่าขาดประโยชน์ จากการหยุดงานพักรักษาตัว ค่าอนามัยภายภาคหน้า ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ รวมเคสนี้  พึงได้รับ    27,000 + 6,000 + 6,000 =  39,000.- บาท  ครับ 
ที่กล่าวมายังไม่รวม  ค่ารักษาพยาบาล ที่ โรงพยาบาลใช้สิทธิ์เบิกตรงกับประกัน  แทนคนเจ็บ ไปเต็มจำนวน 80,000 บาทแล้วนะครับ  เคสนี้ จบ 250,000 ถือว่า เรียกร้องได้สูงแล้ว ครับ
#ข้อสงสัยคือ ทำไม ประกันชดใช้สูงครับ   เป็นไปได้ไม๊ว่า 
1.บาดเจ็บมากกว่าที่เข่าหรือไม่  จนทำให้ความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ด้อยประสิทธิภาพลงหรือไม่  หากเป็นดังนั้น ต้องมีใบรับรองแพทย์ วินิจฉัยว่า กลายเป็นบุคคลทุพลลภาพ ถาวร หรือชั่วคราว  หรือไม่อย่างไร  
#เพราะหากมีผลวินิจฉัยจากแพทย์ ยืนยืนให้เป็นบุคคลทุพลภาพ  จะได้สิทธิ์ ค่าสินไหมทดแทน จากส่วน ของ พ.ร.บ.   300,000  บาท ค่าชดเชยรายได้ จาก พ.ร.บ. 20 วัน วันละ 200  รวม   304,000.-  โดยหากมีค่ารักษาพยาบาลเท่าไรที่ โรงพยาบาลตั้งเบิกมา (ปกติ เบิกแค่เบื้องต้น 30,000 เพราะคนขับขี่เจ็บ ยังไม่รู้ถูกผิดในเบื้องต้น)  แล้วประกัน พิจารณาจ่าย เหมารวม  แค่ 250,000 บาท  
กลายเป็นว่า  ประกันจ่ายน้อยกว่า หลักการพิจารณาสินไหมเบื้องต้นโดยไม่ต้องพิจารณาฐานณุรูป ครับ   เพราะ หากผู้เสียหาย เสียชีวิต อวัยวะ หรือ ทุพลลภาพ ถาวร / ชั่วคราว อย่างใดอย่างหนึ่ง ประกันภัย ภาคสมัครใจ ประเภท 1,2,3,2+,3+ ประเภท 5  ต้อง ชดใช้สินไหมขั้นต่ำส่วนเกินจาก พ.ร.บ.จ่าย ไม่ต่ำกว่า  100,000  บาท   หากคู่กรณีไม่ยินยอมความจึงใช้หลักพิจารณาฐานณุรูปมาเพิ่มเติม 
#เท่ากับ หากเคสที่เล่ามา กลายเป็น สูญเสียอวัยวะ หรือ พิการ โดยมีหลักฐานผลชันสูตร ใบวินิจฉัยจากแพทย์ ยืนยันว่ากลายเป็นคนพิการ  เคสนี้  พ.ร.บ. จ่าย วงเงิน รวมค่ารักษาที่โรงบาลเบิก 30,000 หรือ เต็ม 80,000  ที่เหลือมอบให้คนเจ็บ  รวมยอด 304,000 บาท   และต้องได้จาก ประกันภาคสมัครใจอีก  100,000  ขั้นต่ำ ครับ   นี่คือเรื่อง ค่าสินไหมทดแทนค่าอนามัยนะครับ     ยังไม่รวม ค่าซ่อมรถ จยย. ครับ   
#เท่ากับหากเป็นบุคคลทุพลลภาพขึ้นมา  ต้องได้ขั้นต่ำ  304,000  และยังใช้สิทธิ์เรียกร้องเพิ่มเติมได้อีก ครับ  และยังไม่เกี่ยวกับค่าซ่อมรถ และค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอีกครับ
 หากท่านได้สามารถทำเองได้เรายินดีรับทำเรื่องให้จากทนายผู้มีความชำนาญ
รับปรึกษาการเรียกร้องสินไหม โทร 0837536647










ความสำคัญของ พรบ

พ.ร.บ. = พระราชบัญญัติ
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

หรือชื่อเต็มๆ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกต้องทำและต้องมีไว้เป็นขั้นพื้นฐาน (ซึ่งจะแตกต่างจากประกันภาคสมัครใจ) ก็เพื่อว่าต้องการให้คนในรถทุกคันหรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนเป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้จัดทำ พ.ร.บ. ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในรถหรือนอกรถหรือบุคคลที่ใช้ถนน เดินถนน ถูกเฉี่ยวชน ผู้ที่ประสบภัยจากรถได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ใดก็ตามที่เกี่ยวกับรถ มั่นใจได้ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากเงินกองกลางอย่างทั้นท่วงที

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ

ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน

1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม 35,000 บาท
(1,2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น)
คำถาม
มีนักเรียนสองคนขับมอเตอร์ไซค์คู่ใจซึ่งไม่มี พรบ.ขับขี่รถไปด้วยความคึกคะนองแล้วประสบอุบัติเหตุชนกับรถกระบะซึ่งได้ทำ พรบ.และประกันภาคสมัครใจไว้กับบริษัทใจดีประกันภัย จากเหตุการณ์ดังกล่าวนักเรียนเป็นเหตุให้นักเรียนซึ่งเป็นผู้ขับขี่และซ้อนท้ายเสียชีวิตทันที จากการสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่สรุปว่ามอเตอร์ไซค์เป็นฝ่ายประมาท     อยากทราบว่า พรบ จะชอเชยหรือไม่อย่างไร
ตอบตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำถามนะครับ คดีนี้ มอไซด์เป็นฝ่ายผิด และไม่มี พรบ.
1. คนขับ มอไซด์ เป็นฝ่ายผิด แต่รถไม่มี พรบ. ทายาทรียกค่าเสียหายจาก กองทุนฯ ได้ 35,000 บาท
2. คนซ้อนแม้ไม่ผิด ก็เรียกจากกองทุนฯ ได้เพียง 35,000 บาท หาก รถมอร์ไซด์ มี พรบ.จะได้ 300,000 บาท
3. เมื่อกองทุนจ่ายให้ เงินกับทายาทผู้ตายทั้งสองคน จำนวน 70,000 บาท แล้ว ก็จะมาเรียกคืนกับเจ้าของรถ มอไซด์ที่ไม่ทำ พรบ.ต่อไป หาก เจ้าของรถกับผู้ขับขี่เป็นคน ๆ เดียงกัน ก็จะไปเรียกกับกองมรดกของผู้ขับขี่ ส่วนจะได้หรือไม่ได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ก็ไปฟ้องทางแพ่งกับทายาทผู้ขับขี่ต่อไป
4. ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถ กะบะที่ มี ป.1 เมื่อประกันฝ่ายรถกะบะซ่อมให้แล้ว ประกันก็จะมาฟ้องเรียกค่าเสียหายกับ ทายาท ที่รับมรดกของผู้ตายที่เป็นผู้ขับขี่ต่อไป

ตามที่บอกไว้ ภาษีขาดได้ แต่ พรบ.ขาดไม่ได้เพราะจำเป็นมาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุแบบนี้ ถ้ามี พรบ.คนซ้อน เรียกสินไหมทดแทนจาก พรบ.ได้ 300,000 บาท เพราะคนซ้อนไม่มีโอกาสเป็นผู้ประมาทได้

ผู้มีหน้าที่ จัดให้รถยนต์ที่ใช่ขับขี่ต้องทำ พรบ. มี 2 คน ดังนี้ 1.เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครอง 2.ผู้ขับขี่ ดังนั้นหากจะยืมรถคนอื่นมาขับต้องดูให้ดีเสียก่อนว่า รถที่ขอยืมมานั้น ได้จัดให้มี พรบ.หรือไม่

ทำประกันชั้นหนึ่งเคลมยางได้หรือไม่

ทำอย่างไรเมื่อล้อและยางรถยนต์ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ ล้อและยางรถยนต์นับได้ว่าเป็นส่วนควบและอุปกรณ์ (ยางอะไหล่ ) ที่มีสำคัญต่อตัวรถ เพราะถ้าไม่มีล้อและยางรถยนต์แล้ว รถยนต์คงไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ปกติเวลาถ้ารถยนต์ยังใช้งานได้ตามปกติเราอาจมองไม่เห็นความสำคัญเท่าไหร่ แต่ถ้าเมื่อไหร่ล้อและยางรถยนต์ได้เกิดปัญหาขึ้นมา เป็นปัญหาใหญ่อย่างแน่นอนครับ ไม่ว่าจะเป็นกรณีรถชนเกิดความเสียหายที่ล้อและยาง หรือยางรถถูกคนร้ายมาลักหรือขโมยไป ( งานเข้าแน่นอนครับ )
หลายคนอาจจะไม่ทราบ และหลายคนคงจะทราบแล้ว ว่า ถ้ารถยนต์ของเรามีประกันภัยประเภท 1 ที่คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถ สามารถเคลมความเสียหายในส่วนของล้อและยางรถยนต์ได้ ( ทั้งกรณีรถเกิดอุบัติเหตุชนและถูกลักยางอะไหล่ กรณีถูกลักถ้าเป็นประกันภัยประเภท 2 ทุกชนิด สามารถเคลมได้เช่นเดียวกันครับ )
หลายคนคงเคยเคลมความเสียหายในส่วนของล้อและยางรถยนต์กับบริษัทประกัยมาแล้ว แต่อาจยังมีข้อข้องใจอยู่ว่า ทำไมกรณีของยางรถยนต์ทำไมประกันไม่จ่ายค่าเสียหายเต็มจำนวน ( ทั้งกรณีเป็นฝ่ายถูกชน ) ปัยหาตรงนี้ประกันแต่ละบริษัทยังปฎิบัติไม่เหมือนกัน ผู้เขียนจึงนำปัญหาในกรณีนี้มาอธิบาย ดังนี้ครับ
ล้อและยางรถยนต์เป็นส่วนควบและอุปกรณ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 และประเภท 2 ธรรมดาและ 2 พลัส ดังนี้
ประเภท 1 คุ้มครองความเสียหายจากการชน และการลักทรัพย์
ประเภท 2 และ 2 พิเศษ คุ้มครองเฉพาะจากการลักทรัพย์เท่านั้น

กรณีความเสียหายจากการชน มีการแบ่งแยกความคุ้มครองดังนี้
ความเสียหายต่อล้อแม็กซ์,ล้อ คุ้มครองเต็มมูลค่าของล้อแม็กซ์หรือล้อที่เสียหาย แต่มีเงื่อนไขความคุ้มครองอีกคือ ถ้าเป็นล้อแม็กซ์หรือล้อเดิม ( เดิมๆ ที่ติดมากับตัวรถ ) ประกันจะรับผิดชอบให้เต็มมูลค่า แต่ปัญหาคือ ถ้าลูกค้าไปเปลี่ยนล้อแม็กซ์มาใหม่ ใหญ่ขึ้น มีราคาสูงขึ้นเกินมูลค่าของล้อเดิมมาก , เพราะถ้ามูลค่าน้อยหรือเท่าล้อเดิมก็จะไม่มีปัญหา ) บริษัทประกันส่วนมากจะคุ้มครองให้ ต่อเมื่อลูกค้าได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นไปให้บริษัทประกันทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ( เพราะว่าบริษัทประกันต้องรับทราบในการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของทรัพย์สินตามความคุ้มครองในกรมธรรม์ ถือเป็นสาระสำคัญที่ลูกค้าจะต้องแจ้ง ถ้าไม่แจ้ง บริษัท มีสิทธิ์ปฎิเสธความคุ้มครอง หรือ คุ้มครองเพียงราคามาตรฐานที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตเท่านัน )

ความเสียหายต่อยาง บริษัทประกันส่วนมากจะคุ้มครองให้ลูกค้าในอัตราร้อยละ 50 หรือ 50 % ของราคาค่ายาง ( โดยเหตุผลว่าต้องมีการหักค่าเสื่อมการใช้งาน เพราะยางรถยนต์นั้น ถือได้ว่าเป็อุปกรณ์ที่มีความเสื่อมในตัววของมันเอง คือ ใช้ไปเสื่อมไป แม้ไม่มีการชน หรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นลูกค้า หรือผู้ใช้รถก็ยังคงต้อเปลี่ยน พเราะมันสึกหรอตามสภาพหรืออายุการใช้งานของมันเอง โดยบริษัทประกันจะตั้งมาตรฐานกลางๆไว้ แม้ยางของลูกค้าที่เสียหายจะเป็นยางใหม่ ( ใช้งานมาไม่นาน ไม่ถึงเดือน หรือ ถ้าเป็นยางอะไหล่อาจจะไม่เคยมีการใช้เลยก็ได้ ) กรณีดังกล่าว ถ้าลูกค้าเป็นยางเก่าใช้งานมานาน 1-2 ปี ใกล้เวลาที่จะต้องเปลี่ยนแล้วคงไม่เป็นไร ยอมรับได้ แต่ว่าถ้ายางของลูกค้าเป็นยางใหม่ คงจะทำใจลำบากเพราะต้องเสียค่ายางเองอีก 50 % ดังนั้นเวลาเคลม ลูกค้าส่วนมากจะต้องบอกว่าประกันเอาเปรียบ ในบางบริษัทอาจตั้งเงื่อนไขว่ากรณีของยางบริษัทจะรับผิดชอบให้นั้น ความเสียหายต้องเกิดจากการชน และมีความเสียหายที่บริเวณแก้มยาง ( ส่วนที่จากขอบล้อลงไปถึงส่วนที่สัมผัสพื้นถนน ) และอุบัติเหตุกรณีของยางจะต้องมีส่วนควบของตัวรถได้รับความเสียหายด้วย เช่น ล้อแม็กซ์ครูด,บิ่น ( ยางอย่างเดียวไม่รับผิดชอบ ) ฯลฯ ส่วนมากจะปฎิเสธไว้ก่อน ( ตามภาพถ่าย )
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยางรถยนต์
CC by. ปพน ศิรสิทธิ์

คำพิพากษาค่าสินไหมดแทน

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เขียนโดย  Vakin Youngchoay มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามคว...